AEC ว่าด้วยการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรี : เสรีได้แค่ไหน?

(Asean Economic Community : AEC) จากกำหนดเดิมวันที่ 31 มกราคม 2558 เป็นวันที่ 31 ธันวาคม 2558 การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีจุดมุ่งหมายให้ อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (Single Market and Production Base) สามารถเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน คนงานที่มีฝีมือ และ เงินทุนภายในอาเซียนได้ อย่างเสรี การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกันของอาเซียน ที่สามารถเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรีภายในกลุ่มประเทศอาเซียนนั้น มีบางท่านเข้าใจว่า…

เวียดนามกับอาเซียน

อาเซียนก่อตั้งขึ้นในบรรยากาศของสงครามเย็น และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รูปลักษณ์สำคัญที่สุดสงครามเย็นคือสงครามเวียดนาม ซึ่งเมื่อมีการก่อตั้งอาเซียน ใน ค.ศ.1967 กล่าวได้ว่ากำลังอยู่ในช่วงสูงสุด สหรัฐอเมริกาเข้าไปแทรกแซงทางทหารในเวียดนามโดยตรงและสงครามทางอากาศต่อเวียดนามเหนือที่เริ่มมาตั้งแต่ช่วงต้น ค.ศ.1965 ก็ยังดำเนินอยู่อย่างเต็มกำลัง แม้ว่าอาเซียนจะจัดตั้งขึ้นในลักษณะที่มิใช่เป็นพันธมิตรทางทหารอย่างเช่น องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Treaty Organization SEATO) ที่มีมาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่การเป็นกลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์ของอาเซียนในขณะนั้นก็ปราศจากข้อสงสัยใดๆ และสมาชิกอาเซียน 2 ชาติ คือ ไทยและฟิลิปปินส์ก็ส่งทหารไปรบในเวียดนามใต้ด้วย เวียดนามจึงอยู่คนละฝ่ายกับอาเซียนและประเทศไทยมาแต่ต้น ดังนั้น ช่วงระยะเวลาหลังสงครามเวียดนามจึงเป็นช่วงเวลาแห่งความยากลำบากสำหรับการปรับตัวเข้าหากันระหว่างเวียดนามกับอาเซียน อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากสถานการณ์ทั้งในโลกและในภูมิภาคที่เปลี่ยนไป การปรับตัวครั้งสำคัญของอาเซียนที่เป็นผลมาจากการประชุมสุดยอดครั้งแรกที่บาหลีในเดือนกุมภาพันธ์ 1976…

ดุลการค้าและสินค้าที่ไทยจะได้เปรียบหรือเสียเปรียบ

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) เป็นการรวมตัวกันของประเทศในกลุ่มอาเซียนเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในตลาดโลกมากขึ้น ในการดำเนินงานได้มีการจัดทำ แผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า AEC Blueprint โดยเป็น การกำหนดระยะเวลาการลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าของประเทศสมาชิกอาเซียนไว้ 2 กลุ่ม คือ ประเทศในกลุ่มอาเซียน 6 ประกอบด้วย ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และบรูไน ต้องลดภาษีนำเข้าสินค้าให้เป็น 0% ในปี 2553 ส่วนประเทศในกลุ่ม…

ระบบการเงินที่จะเปลี่ยนแปลงเมื่อเปิด AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

การรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 10 ประเทศ 600 กว่าล้านคน หรือ ASEAN Economic Community: AEC ที่จะเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 2558 นี้ ซึ่งมุ่งเน้นในอาเซียนเป็นตลาดและศูนย์กลางของฐานการผลิตโลก จึงกลายเป็นอีกเวทีหนึ่งที่นักลงทุนทั่วโลกจับตา โดยการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งล่าสุด ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที่ 26-30 มี.ค.255 ที่ผ่านมา เป็นการรายงานสถานการณ์ล่าสุด ถึงความคืบหน้าของเออีซี ทั้งนี้ นอกจากการเปิดเสรีการค้าบริการ เปิดเสรีแรงงาน และการลงทุน ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักแล้ว…

โอกาสทองลงทุนอินโดนีเซีย พร้อมก่อนมีสิทธิรวยก่อน

ใกล้เข้ามาทุกที สำหรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน (AEC) ในปี 58 ซึ่งจะเปิดให้ประชากรในอาเซียน 10 ประเทศ รวมกันเป็นหนึ่งเดียว มีประชากรรวมกันถึง 600 ล้านคน การเข้าถึงประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียนก็จะง่ายขึ้น การทำธุรกิจต่างๆ ก็จะไม่ได้อยู่ในประเทศของตัวเองเท่านั้น ภาคธุรกิจต่างๆ จากกลุ่มประเทศในอาเซียนก็จะไหลเข้าไปในจุดที่เป็นโอกาส เพราะฉะนั้น ณ เวลาที่เหลืออยู่ ภาคธุรกิจของไทยก็ควรต้องเตรียมพร้อมในการฉกฉวยโอกาสให้เข้ามาเป็นประโยชน์กับตัวเองให้มากที่สุด หากมองโอกาสในการเข้าไปลงทุนของผู้ประกอบการไทยในประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียน ต้องบอกได้ว่า "มีโอกาสสดใสมาก ที่นักลงทุนไทยจะเข้าไปลงทุนในประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะในอินโดนีเซีย กัมพูชา…

แรงงานไทยใน AEC

โอกาสของแรงงานไทยในประชาคมอาเซียนมีมากน้อยแค่ไหน แรงงานกลุ่มไหนที่ได้ประโยชน์ และทาอย่างไรจึงจะฉกฉวยประโยชน์นั้นได้ ประเด็นสำคัญด้านแรงงานที่ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ทำการศึกษาถึง "โอกาสแรงงานไทยใน AEC" ไว้อย่างน่าสนใจ โดย ดร.สราวุธ ไพฑูรย์พงษ์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ระบุว่า ปัญหาหนึ่งของตลาดแรงงานไทยคือความไม่สมดุลของโครงสร้างแรงงานที่เกิดขึ้นทั้งระดับล่างและระดับบน ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ กล่าวคือ ขาดแคลนแรงงานระดับล่าง(ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา)แต่มีแรงงานส่วนเกินระดับอุดมศึกษาอยู่มาก และมีปัญหาคุณภาพแรงงานไม่ตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งตลาดแรงงานอาเซียนน่าจะช่วยดูดซับแรงงานส่วนเกินของไทยกลุ่มนี้ได้ ปัญหาแรงงานระดับบนของไทย เช่น ในปี 2551 มีแรงงานระดับอนุปริญญาขึ้นไปประมาณ 5.1 ล้านคน…

ความร่วมมือด้านการขนส่งของอาเซียน

ความร่วมมือด้านการขนส่งของอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างระบบการขนส่งให้มีการรวมตัวกันในภูมิภาคอาเซียนและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการขนส่ง (ASEAN Transport Action Plan (ATAP) 2005-2010) ความร่วมมือด้านการขนส่งของอาเซียนได้มุ่งเน้นเรื่องการเสริมสร้างความเชื่อมโยงในการขนส่งหลายรูปแบบ การส่งเสริมการเคลื่อนย้ายคนและสินค้าแบบไร้พรมแดน และการส่งเสริมการเปิดเสรีบริการด้านขนส่งทางน้ำและทางอากาศให้ดียิ่งขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเคลื่อนย้ายสินค้าในภูมิภาคอาเซียน อาเซียนได้จัดทำกรอบความตกลงด้านการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งที่สาคัญ 3 ฉบับ ดังนี้ (1) กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit: AFAFGIT)…

ข้อมูลการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ของประเทศสมาชิกอาเซียน

ประเทศที่มีมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสูงที่สุด 5 อันดับ จากข้อมูลการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Inflow Foreign Direct Investment) พบว่า ในปี 2553 ประเทศสมาชิกอาเซียน ที่มีมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซียและไทย ตามลำดับ โดยแต่ละประเทศมีแหล่งที่มาของเงินลงทุน FDI (Foreign Direct Investment by Region/Country) ดังนี้ อันดับ…

ผลวิเคราะห์อุตสาหกรรมไทย มั่นใจศักยภาพแข่งขันรับอาเซียน

นายสมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผย ผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในภาคอุตสาหกรรม ดังนี้ จากการวิเคราะห์ถึงศักยภาพของประเทศไทย พบว่ามีจุดแข็งที่สำคัญได้แก่ 1. ประเทศไทยมีแรงงานที่มีทักษะฝีมือเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ 2. มีวัตถุดิบทางการเกษตรที่มีศักยภาพ ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ และมีผลผลิตที่หลากหลาย เช่น ข้าว ยางพารา อ้อย ผักและผลไม้สด เป็นต้น 3. มีที่ตั้งเหมาะสมในด้าน การเป็นศูนย์กลางภูมิภาค ทำให้มีข้อได้เปรียบหลายด้าน โดยเฉพาะการขนส่ง และ 4.…

ลักษณะการบริโภค และทัศนคติต่อสินค้าไทยของชาวเวียดนาม

การที่เวียดนามเปิดประเทศได้ทำให้ผู้ประกอบการจากต่างชาติเข้ามาลงทุนค้าขายในเวียดนามเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามจากการลงพื้นที่สำรวจวิถีชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคของชาวเวียดนาม กลับพบว่า แม้สภาพสังคมสิ่งแวดล้อมในเมืองใหญ่ๆ อย่างเช่น โฮจิมินห์ ซิตี้ หรือฮานอย จะมีความทันสมัยมากขึ้น แต่ก็ยังมีชาวเวียดนามจำนวนมาก ก็ยังมีวิถีชีวิตและคงวัฒนธรรมดั้งเดิมอยู่ เช่น วัฒนธรรมการกิน ที่ยังพบเห็นร้านน้ำชา กาแฟ เรียงรายเป็นจำนวนมากตามสองข้างทาง ทั้งในย่านชุมชนเมืองหรือแม้แต่ออกไปในชนบท ร้านอาหารต่างชาติในเมือง ก็มีให้เห็นไม่มากนัก เพราะผู้คนยังคงนิยมรับประทานอาหารตามร้านอาหารดั้งเดิม เหตุผลอาจเป็นเพราะสถาบันครอบครัวของชาวเวียดนามมีความแข็งแกร่ง ส่งผลให้ผู้บริโภคที่เป็นคนรุ่นใหม่ ที่แม้จะได้รับการศึกษาและหน้าที่การงานที่ดี มีรายได้มั่นคงก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ละทิ้งวิถีชีวิตแบบเดิม ดังนั้น พฤติกรรมการบริโภคของกลุ่มนี้จึงมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง จากการสัมภาษณ์คนท้องถิ่น ทำให้ได้ทราบว่า ผู้คนชาวเวียดนามมักใช้สิ่งของ…