AEC ว่าด้วยการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรี : เสรีได้แค่ไหน?

(Asean Economic Community : AEC) จากกำหนดเดิมวันที่ 31 มกราคม 2558 เป็นวันที่ 31 ธันวาคม 2558 การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีจุดมุ่งหมายให้ อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (Single Market and Production Base) สามารถเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน คนงานที่มีฝีมือ และ เงินทุนภายในอาเซียนได้ อย่างเสรี

การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกันของอาเซียน ที่สามารถเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรีภายในกลุ่มประเทศอาเซียนนั้น มีบางท่านเข้าใจว่า จะเหมือนหรือมีหลักการทำนองเดียวกันกับหลักการ การเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรีของสหภาพยุโรป คือสินค้าที่ผลิตในสหภาพยุโรป สามารถเคลื่อนย้ายจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง ภายในสหภาพได้เสรี ไม่ต้องผ่านพิธีการศุลกากร ไม่ต้องเสียภาษีศุลกากร การจำกัดปริมาณการนำเข้าหรือการกำหนดมาตรการที่มีผลทำนองเดียวกันกับการจำกัดปริมาณนำเข้าจะกระทำมิได้ ส่วนสินค้าที่นำเข้าจากประเทศนอกสหภาพ เมื่อทำพิธีการศุลกากรที่เมืองท่าหรือสนามบินที่นำเข้าและเสียภาษีนำเข้าหรือค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดแล้วไม่ว่าในประเทศสมาชิกใด สามารถนำสินค้าเหล่านี้เคลื่อนย้ายจากประเทศสมาชิกหนึ่งไปวางขายยังประเทศสมาชิกอื่นได้อย่างเสรีโดยไม่ต้องทำพิธีการศุลกากรอีก ที่เรียกกันว่า Free Circulation

วิธีการทำอาชีพอิสระ

ตามพิมพ์เขียวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community Blueprint) ถือว่า การเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรี เป็นหลักการสำคัญประการหนึ่งที่จะนำไปสู่เป้าหมายการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวของอาเซียน โดยประเทศสมาชิกจะต้องยกเลิกหรือลดภาษีศุลกากรลงตามเป้าหมายที่กำหนด และยกเลิกมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (Non Tariff Barriers) ให้หมด สำหรับสินค้าที่นำเข้าส่งออกในประเทศอาเซียน ผ่านความตกลงทางการค้าอันเป็นกลไกของความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ดังนั้น การเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรีในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะเสรีได้แค่ไหนเพียงใดต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในความตกลงเกี่ยวกับการค้าภายใต้ความตกลงเขตการค้าค้าเสรีของอาเซียน (AFTA)

ความตกลงเกี่ยวกับการค้าภายใต้ AFTA ฉบับแรก คือ ความตกลงว่าด้วยสิทธิพิเศษทางการค้าอาเซียน (The Agreement on ASEAN Preferential Arrangements : ASEAN PTA) มีผลบังคับใช้ในปี 2521 ต่อมาได้ทำความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (The Agreement on Common Effective Preferential tariff Scheme for the ASEAN Free Trade Area : CEPT) ออกใช้แทนความตกลง ASEAN PTA มีผลบังคับใช้ปี 2535 ล่าสุดได้มีการทำความตกลงทางการค้าเพื่อใช้แทนความตกลง CEPT คือ ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN TRADE IN GOODS AGREEMENT:AGITA) ที่ทำขึ้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552 ในการประชุมอาเซียน ที่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

ความตกลง ATIGA เป็นความตกลงที่ปรับปรุงมาจากความตกลง CEPT ให้ชัดเจนโปร่งใส ครอบคลุมมาตรการภาษีและไม่ใช่ภาษีมากยิ่งขึ้น เพื่อให้การค้าภายในอาเซียนมีอุปสรรคน้อยลง เปิดเสรี เรื่องภาษีมากยิ่งขึ้น และยกเลิกมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีที่เป็นการจำกัดการนำเข้าไม่ว่ารูปแบบใดๆ ให้หมดไป รวมทั้งการปรับปรุงกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าให้ยืดหยุ่นขึ้น

ตามความตกลง ATIGA ไม่มีข้อยกเว้นให้การนำเข้าส่งออก สินค้าระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนไม่ต้องผ่านและทำพิธีการศุลกากร แต่กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องปรับปรุงกฎหมายและ ระเบียบพิธีศุลกากรของประเทศสมาชิกให้สอดคล้องกันและมีความโปร่งใสในการปฏิบัติ ให้เกิดความสะดวกในด้านพิธีการศุลกากรมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การนำเข้าส่งออกสินค้าระหว่างประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนยังคงทำและผ่านพิธีการศุลกากรเช่น

สำหรับ สินค้าที่นำเข้าจากประเทศที่ไม่ใช่ประเทศสมาชิกอาเซียน เมื่อทำพิธีการศุลกากรและเสียภาษีนำเข้าในประเทศสมาชิกที่นำเข้าแล้ว ไม่มีบทบัญญัติให้สามารถเคลื่อนย้ายไปจำหน่ายในประเทศสมาชิกอื่นอย่างเสรีได้ เนื่องจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ยังรวมตัวกันไม่ถึงขั้นที่มีระบบศุลกากรเป็นของประชาคมเป็นส่วนรวม เช่นสหภาพยุโรป ประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศยังคงมีระบบศุลกากรและการจัดเก็บภาษีนำเข้าเป็นของตนเอง หากจะส่งสินค้าที่นำเข้าจากประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกอาเซียนนั้นไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ก็ยังคงต้องผ่านพิธีการศุลกากรและปฏิบัติตามข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้าตามปกติ หากเป็นสินค้าต้องห้ามในการนำเข้าหรือต้องขออนุญาตในการนำข้าหรือมาตรการอื่นใดของประเทศนำเข้า ก็ต้องเป็นไปตามมาตรการที่กำหนดของประเทศนำเข้านั้น และต้องเสียภาษีนำเข้าตามอัตราปกติของประเทศนั้น

การส่งออกและนำเข้าสินค้าระหว่างประเทศอาเซียนที่จะได้รับสิทธิไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า หรือเสียในอัตราพิเศษที่ลดลงสำหรับสินค้าบางรายการ สินค้านั้นต้องเป็นสินค้าที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศสมาชิกถูกต้องตามกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า ตามที่บัญญัติไว้ใน CHAPTER 3 RULES OF ORIGIN โดย ต้องแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin : CO (Form D)) ที่ออกโดยผู้มีอำนาจของประเทศผู้ผลิตประกอบการนำเข้าด้วย อย่างไรก็ตามขณะนี้มีการทำความตกลงกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 4 ประเทศ คือ ไทย บรูไน มาเลเซีย และสิงคโปร์ และคงเพิ่มอีกหลายประเทศในอนาคต ทำโครงการนำร่องให้เอกชนสามารถรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าเองได้ ดังนั้น การนำเข้าส่งออกสินค้าระหว่างประเทศดังกล่าว หากไม่มีหรือไม่ได้ขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ฟอร์ม D ผู้ส่งออกสามารถทำคำรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่เอกสาร Invoice ด้วยตนเองตามระเบียบปฏิบัติที่กำหนดไว้ได้

สิ่งที่ผู้ประกอบการส่งออกของไทยควรทราบและใช้ประโยชน์ คือ การออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ที่เรียกว่า The back to back Certificate of Origin ซึ่งจะเป็นกรณีที่ผู้ประกอบการไทยนำเข้าสินค้าที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอาเซียนแล้วส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศอาเซียนอื่น สามารถนำหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ฟอร์ม D ที่ออกโดยประเทศผู้ผลิตเดิม (ต้นฉบับหรือสำเนาก็ได้) ไปขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิด back to back Certificate of Origin ฟอร์ม D จากกรมการค้าต่างประเทศ เพื่อการใช้สิทธิสำหรับการส่งออกสินค้านั้นไปยังประเทศอาเซียนอื่นได้

ที่มา :  สกล หาญสุทธิวารินทร์ กรุงเทพธุรกิจ