ดุลการค้าและสินค้าที่ไทยจะได้เปรียบหรือเสียเปรียบ

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) เป็นการรวมตัวกันของประเทศในกลุ่มอาเซียนเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในตลาดโลกมากขึ้น ในการดำเนินงานได้มีการจัดทำ แผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า AEC Blueprint โดยเป็น การกำหนดระยะเวลาการลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าของประเทศสมาชิกอาเซียนไว้ 2 กลุ่ม คือ ประเทศในกลุ่มอาเซียน 6 ประกอบด้วย ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และบรูไน ต้องลดภาษีนำเข้าสินค้าให้เป็น 0% ในปี 2553

ส่วนประเทศในกลุ่ม CLMV ประกอบด้วย พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ต้องลดภาษีนำเข้าสินค้าให้เป็น 0% ในปี 2558 เนื่องจากเป็นประเทศกำลังพัฒนา จึงจำเป็นต้องให้เวลาในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต พัฒนาบุคลากร โครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ ดังนั้นทำให้ในปี 2558 อาเซียนจะไม่มีการเก็บภาษีสินค้ากับสมาชิกอาเซียนด้วยกัน ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ทั้งผลกระทบต่อ GDP ของประเทศไทย ประเทศสมาชิกอาเซียน และมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทยซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

วิธีการทำอาชีพอิสระ

1. ผลกระทบต่อ GDP ของประเทศไทยผลกระทบจากการลดอัตราภาษีเป็น 0% ในปี 2558 ส่งผลให้ GDP ของประเทศสิงคโปร์เปลี่ยนแปลงมากที่สุด โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.80 ส าหรับประเทศไทยนั้นเป็นอันดับสองที่มูลค่า GDP จะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 1.75 รองลงมาเป็น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา ตามลำดับ

2. ผลกระทบต่อมูลค่าการค้าของไทยกับประเทศคู่ค้าในกลุ่มอาเซียน
ผลกระทบต่อมูลค่าการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศคู่ค้าในกลุ่มอาเซียนหลังจากที่ประเทศในกลุ่ม CLMV ซึ่งประกอบด้วย พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ลดภาษีนำเข้าสินค้าให้เป็น 0% ในปี 2558 นั้น ทำให้มูลค่าการส่งออกของประเทศไทยไปยังประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียนมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 4,805.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นการส่งออกไปยังประเทศมาเลเซียเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ 1,334.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาเป็นสิงคโปร์ 1,225.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และอินโดนีเซีย 827.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แยกเป็นรายสินค้าสำคัญ ได้ดังนี้
1) การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ 1,346.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งลูกค้าหลักจะเป็นประเทศในกลุ่มอาเซียน 6 คือส่งออกไปสิงคโปร์เพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 623.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงเป็นมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย 436.8 127.4 และ 80.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ
2) ยานยนต์และชิ้นส่วนจะมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นมากเป็นอันดับสอง คือ 851.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่งออกไปยังอินโดนีเซียและมาเลเซียเพิ่มขึ้นเป็นอันดับต้นๆ
3) ไทยส่งออกเคมีภัณฑ์ ยาง และพลาสติกไปยังอาเซียนเพิ่มขึ้น 579.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังมาเลเซียเพิ่มขึ้น 262.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯส าหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าของไทยจากประเทศในกลุ่มอาเซียนนั้น พบว่ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นเช่นกัน เป็น 3,404.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการนำเข้าสินค้าจากมาเลเซียมากที่สุด รองลงมาเป็น สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย คิดเป็นมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 1,121.6 936.1 และ 692.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยหากพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่าเป็นการนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นมากที่สุด 1,185.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ดังนี้

1) สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนใหญ่ประเทศไทยจะนำเข้าจากมาเลเซียเพิ่มมากที่สุดเป็น 471.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาเป็นสิงคโปร์ 401.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
2) ปิโตรเลียมจะมีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้น 443.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยนำเข้าจากมาเลเซียเพิ่มขึ้นมากที่สุดและพม่าเป็นอันดับสอง มีมูลค่าเท่ากับ 165.1 และ 157.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3) เคมีภัณฑ์ ยาง พลาสติก และเหล็ก โลหะ จะถูกนำเข้าเพิ่มขึ้นสินค้าละมากกว่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเคมีภัณฑ์ ยาง พลาสติก ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากสิงคโปร์และมาเลเซีย ส่วนเหล็กและโลหะจะถูกนำเข้าจากอินโดนีเซีย และมาเลเซียเพิ่มขึ้นมากที่สุด

เมื่อพิจารณาดุลการค้าของประเทศไทยกับประเทศในกลุ่มอาเซียน หลังจากในปี 2558 ที่ประเทศในกลุ่ม CLMV ลดภาษีเป็น 0% แล้ว พบว่าประเทศไทยมีการเกินดุลมากขึ้น 1,400.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเกินดุลมากขึ้นกับประเทศเวียดนามเป็นอันดับหนึ่ง 316.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาเป็นสิงคโปร์ 288.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯและมาเลเซีย 212.8 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนั้นพบว่าไทยมีการขาดดุลกับพม่าเพิ่มขึ้น 66.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลมาจากการนำเข้าปิโตรเลียมมาจากพม่าเพิ่มมากขึ้น

1) ไทยเกินดุลการค้าในสินค้ายานยนต์เพิ่มขึ้น 720.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการเกินดุลกับประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์
2) ดุลการค้าของสินค้าอาหารแปรรูปจะเกินดุลมากขึ้น 398.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3) สินค้าเกษตรและปศุสัตว์มีมูลค่าดุลการค้าเกินดุลมากขึ้น 239.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นการเกินดุลมากขึ้นกับประเทศในกลุ่ม CLMV
4) เคมีภัณฑ์ ยาง พลาสติก เกินดุลมากขึ้น 184.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเกินดุลกับประเทศมาเลเซียมากที่สุด 147.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ขาดดุลกับประเทศสิงคโปร์เพิ่มขึ้น 97.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
5) สินค้าที่ขาดดุลเพิ่มขึ้นคือแร่ต่างๆ ปิโตรเลียม และเหล็ก/โลหะ

การศึกษาพบว่า สินค้าที่ไทยจะเกินดุลการค้า และขาดดุลการค้า หลังจาก ประเทศกลุ่ม อาเซียน ลดภาษี
1) เกินดุลการค้า ได้แก่ เกษตรแปรรูป เกษตรและปศุสัตว์ ประมง เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กโทรนิกส์ สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ ยาง พลาสติก ผลิตภัณฑ์ไม้ ยานยนต์และชิ้นส่วน ปิโตรเลียม และเหมืองแร่
2) ขาดดุลการค้า ได้แก่ เหล็กและโลหะ และสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆและประเทศที่ไทยเกินดุลการค้าและขาดดุลการค้า

รายการ สินค้า ประเทศเกินดุลมากขึ้น
1. ยานยนต์และชิ้นส่วน อินโดนีเซีย มาเลเซีย
2. เกษตรแปรรูป มาเลเซีย อินโดนีเซีย

ขาดดุลมากขึ้น
1. แร่ อินโดนีเซีย ลาว
2. ปิโตรเลียม พม่า มาเลเซีย

3. ข้อเสนอแนะ
1) ควรเร่งให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแก่ทุกภาคส่วนทั้งภาคการผลิต ประชาชนและภาคสังคม เพื่อให้ประเทศสามารถปรับตัวได้ทัน
2) ผลักดันการอ านวยความสะดวกทางการค้าตามแนวชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3) ควรมีการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมไทย ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมต้นน้ำและปลายน้ำ เพื่อประกอบการปรับตัวของภาคการผลิต