กลยุทธ์ขยายตลาด AEC ของ SMEs ไทย

หากพิจารณาตัวเลขประชากรในภูมิภาคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ที่มีสูงถึงเกือบ 600 ล้านคน ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองเพียงจีนและอินเดียเท่านั้น และเมื่อพิจารณาในเชิงคุณภาพที่อำนาจในการซื้อของผู้บริโภคในภูมิภาคนี้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ภูมิภาคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงในการเข้าไปขยายตลาดต่อยอดของผู้ประกอบการ SMEs ของไทย ในการบริหารการตลาดในAECของผู้ประกอบการ SMEs จะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ประสบการณ์ระหว่างประเทศของผู้ประกอบการว่ามีเพียงพอหรือไม่ การขยายตัวของอุตสาหกรรมของตัวเองในภูมิภาคAECว่าอยู่ในระดับใด ลักษณะความเป็นสากล (การลดลงของอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ) ในอุตสาหกรรมที่เข้าสู่ตลาด ความเสี่ยงของประเทศที่เข้าไปเปิดตลาด ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของผู้บริโภค ศักยภาพทางการตลาดของผู้ประกอบการความรู้ทางการตลาด ระดับการแข่งขันและกลยุทธ์ที่มุ่งใช้ในอุตสาหกรรมที่เข้าสู่ตลาด พันธมิตรทางธุรกิจในระดับสากล เมื่อผู้ประกอบการได้ประเมินศักยภาพของตลาดและตัวเองในเบื้องต้นแล้ว ลำดับต่อมาคือการกำหนดรูปแบบกลยุทธ์ของผู้ประกอบการ SMEs ในการเข้าสู่ตลาด AEC…

ตัวอย่างการพัฒนาการของสิงคโปร์ ไทยควรเร่งพัฒนาเตรียมพร้อมสู่ AEC

การศึกษาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์ เป็นเพียงการช่วยให้เรามองเห็นจุดที่ไทยยังต้องพัฒนา เพื่อเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจและรองรับการเป็นกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community: AEC) โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพแรงงานและเทคโนโลยีศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงมองว่า ไทยต้องสร้างแนวทางในการใช้เทคโนโลยี เพื่อการผลติในรูปแบบของตัวเอง โดยอาจมีการเลือกกาหนดอุตสาหกรรมเปูาหมายที่เหมาะสมกับสถานการณ์การผลิตโดยรวมของประเทศ เช่น อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าเกษตร สุขภาพ การท่องเที่ยว เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถนาแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ มาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้แกสินค้าและบริการควบคู่ไปกับเทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์ในเรื่องข้อจากัดทางการเงินของธุรกิจ SMES ที่มีส่วนสาคัญต่อภาคธุรกิจของไทย นอกจากนี้ ไทยต้องพัฒนาคุณภาพของกาลังแรงงานควบคู่กันไปด้วย หากไทยนกระดับขีดความสามารถในการผลิตได้ จะส่งผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสามารถแข่งขันได้ทัดเทียมต่างชาติ ไม่เพียงแต่ใน AEC แต่รวมถึงประเทศอื่นๆ จากทั่วโลกด้วย…