โอกาสและอุปสรรคของอุตสาหกรรมอาหารไทยในตลาด AEC
ประเทศไทยมีศักยภาพการแข่งขันสูงซึ่งสามารถพิจารณาได้จากปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้ - ปัจจัยด้านการผลิต (Factor Conditions) ในแง่ของวัตถุดิบ ไทยมีวัตถุดิบเป็นจานวนมากทั้งในเชิงปริมาณ คุณภาพ และความหลากหลาย ส่วนประเทศในอาเซียนที่มีศักยภาพด้านวัตถุใกล้เคียงกับไทย ได้แก่ เวียดนาม และอินโดนีเซีย ส่วนประเทศอื่นๆ เช่น พม่า แม้จะมีวัตถุดิบจานวนมากแต่คุณภาพยังต้องอาศัยเวลาในการยกระดับไปสู่มาตรฐาน ในแง่ของต้นทุนแรงงาน ไทยได้เปรียบสิงคโปร์ และมาเลเซีย ในแง่ค่าจ้างที่ถูกกว่า แต่ค่าจ้างของไทยก็สูงกว่ากลุ่มประเทศ CLMV มากซึ่งไทยถูกชดเชยด้วยทักษะฝีมือแรงงานรวมทั้งความชานาญที่สะสมมานาน ในแง่เทคดนดลยีการผลิตรวมทั้งปัจจัยทุน ไทยก็ได้เปรียบกลุ่มประเทศCLMV แต่ก็เสียเปรียบสิงคโปร์ และมาเลเซียอยู่มาก ส่วนระบบโครงสร้างพื้นฐานของไทยได้เปรียบกลุ่มประเทศ…
AEC ต้องไม่ละเลยทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
AEC จำเป็นที่จะต้องคานึงถึงประเด็นด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย เพราะประเทศสมาชิกแต่ละประเทศต่างมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ความเข้มงวดและความยืดหยุ่นของนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รูปแบบการค้าที่ประเทศสมาชิกจะนาเข้าหรือส่งออกสุทธิทรัพยากรธรรมชาติและสินค้าอื่นๆที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีการผลิต ความเข้มข้นในการใช้ปัจจัยการผลิต และความสามารถในการทดแทนกันได้ของปัจจัยการผลิตต่างๆ พฤติกรรมการบริโภคของประชาชนอีกทั้งทัศนคติของประชาชนในประเทศที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ซึ่งสามารถวัดเป็นมูลค่าได้จากความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)และประเด็นอื่นๆอีกมากมาย ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างปัจจัยสาคัญบางประการที่อาจทาให้ผลกระทบทางเศรษฐกิจของการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเกิดความแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศสมาชิก เพราะโดยหลักการแล้วเราจะต้องนาเอาต้นทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเข้ามาคิดคานวณเป็นส่วนหนึ่งของผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้วยเสมอ นั่นก็คือผลกระทบต่อกรีนจีดีพี (Green GDP) หรือผลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหักด้วยต้น ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งผลกระทบต่อสวัสดิการความเป็นอยู่ของประชาชน ความยากจนและการกระจายรายได้ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยกตัวอย่างเช่น กรณีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (พม่า) ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งดิน ป่าไม้อัญมณี น้ามัน และก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ…
ประเมินสถานการณ์ SMEs ไทย ภายใต้การเข้าสู่ AEC
การพัฒนาเศรษฐกิจไทยที่ยั่งยืนในอนาคตนั้น รัฐบาลจำเป็นต้องให้ความสำคัญมากกับการพัฒนาวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม หรือที่เรียกว่าSMEs (SMEs) ของไทย ให้แข่งขันกับนานาอารยประเทศได้ ผมได้ลองหาข้อมูลเกี่ยวกับ SMEsไทยที่เชื่อว่า หลายท่านผู้อ่านอาจจะยังไม่ทราบและเป็น ข้อมูลSMEsที่น่าสนใจ จากข้อมูลล่าสุด ภาครัฐได้จัดหมวดให้SMEsครอบคลุม ประเภทธุรกิจ 4 กิจการสำคัญ คือ (1) กิจการการผลิต (Production Sector) ซึ่งครอบคลุมการผลิตในภาคเกษตรกรรม (Agricultural Processing) ภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing) และเหมืองแร่ (Mining) (2) กิจการบริการ…
ทำไมถึงต้องมี AEC
สำหรับคำถามแรกที่หลายๆ คนอาจจะยังคงตั้งคำถามว่า ทำไมจะต้องศึกษาเรื่องอาเซียน ทำไมจะต้องเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ประชาคมอาเซียนสำคัญอย่างไร อาเซียนถือได้ว่าเป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีความสำคัญที่สุดต่อไทยในทุกๆ ด้าน ในด้านเศรษฐกิจ ตัวเลขชัดเจน ไทยค้าขายกับประเทศอาเซียนมากที่สุด ขณะนี้อาเซียนเป็นประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทย การลงทุนกำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่า ขณะนี้ต่างชาติที่มาลงทุนในไทยมากที่สุด คือ ยุโรปและญี่ปุ่น แต่ประเทศในอาเซียนก็มาลงทุนในไทยมากขึ้นเรื่อยๆประเทศไทยก็ไปลงทุนในอาเซียนมากขึ้นในด้านการเมืองความมั่นคง อาเซียนเกิดขึ้นมาได้ เนื่องจากเหตุผลทางด้านการเมืองความมั่นคง เมื่อ45 ปีมาแล้วตอนที่ไทยริเริ่มตั้งอาเซียน เหตุผลสำคัญคือ เรื่องการเมืองความมั่นคงในตอนนั้นเป็นยุคสงครามเย็น คอมมิวนิสต์ คือ ภัยคุกคามหลัก เพราะฉะนั้น เราได้ประโยชน์มากในการตั้งอาเซียนขึ้นมา คือ เรามีพวก…
ประตูการค้าทางทะเลสู่อาเซียน
การค้าทั่วโลกพึ่งพาการขนส่งทางทะเลเป็นหลักราว 90% ของปริมาณขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทั้งหมด ส่งผลให้ท่าเรือมีความสำคัญในฐานะประตูเปิดรับการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ ดังนั้น ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าที่ประเทศในภูมิภาคอาเซียนจะรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ซึ่งจะกระตุ้นให้การค้าการลงทุนทั้งภายในอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลกขยายตัวสูงขึ้น ความพร้อมและศักยภาพของท่าเรือในอาเซียนจึงเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งของความสำเร็จของ AEC ท่าเรือสำคัญในอาเซียน นอกเหนือจากท่าเรือแหลมฉบังของไทย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว เริ่มจากท่าเรือของสิงคโปร์ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ท่าเรือ PSA (Port of Singapore Authority)…
เปรียบเทียบเวียดนามและไทย ด้านการศึกษา ภาษา และการลงทุน ใน AEC
หลังสิ้นสุดความวุ่นวายทางการเมืองที่ทอดยาวมาเป็นเวลานานนั้นเสียได้ นับถอยกลับไปหลังจากที่อเมริกาถอนทหารจากเวียดนามใต้อย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ.2516 กองกำลังเวียดนามเหนือและเวียดกงยึดไซ่ง่อนและเวียดนามใต้ได้ทั้งหมด ในปี พ.ศ.2518 เวียดนามเหนือ-ใต้ รวมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ เมื่อ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2519 กลายเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ระยะ 36 ปีกว่า นับแต่นั้นเป็นต้นมา เวียดนามกำลังกลายเป็นพญามังกรที่กางปีกเต็มที่ และพร้อมแล้วกับการบินทุกรูปแบบ ทั้งสูง ผาดโผน และนุ่มนวล โดยเฉพาะเมื่อมีโอกาสบินในสมรภูมิรบที่คุ้นเคย ซึ่งบัดนี้ได้เปลี่ยนเป็นสมรภูมิการค้าเสรีใหญ่โตด้วยแล้ว ยิ่งทำให้เวียดนามขยับตัวเข้าใกล้เป้าหมายเบอร์ 1 ของอาเซียนได้ไม่ยากนัก ความโดดเด่นข้อนี้ดูเหมือนหลายประเทศจะวิเคราะห์ตรงกันว่า…
ทวาย พม่า และท่าเรือน้ำลึก เชื่อมเส้นทางขนส่งไทย-พม่า
ท่าเรือน้ำลึกทวาย ก่อให้เกิดอะไรบ้าง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย จัดทำแผนบูรณาการการพัฒนาจังหวัดกาญจนบุรีให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจภาคตะวันตก เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายของสหภาพพม่า และรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือAEC ขณะที่ "สุกำพล" ลุยสร้างถนน-รถไฟเชื่อมทวาย เปิดทางเอกชนลงทุนมอเตอร์เวย์ 4.5 หมื่นล้านบาท โอกาส 1. การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกภายใต้โครงการ Dawei Development เป็นโอกาสเปิดประเทศไทยสู่เส้นทางการเดินเรือโลกสายใหม่ (New Global Maritime Route) และเชื่อมโยงผ่านพม่าไปยังประเทศจีน อินเดีย และ บังกลาเทศ รวมทั้งสร้างโอกาสการพัฒนากาญจนบุรีเป็นพื้นที่เศรษฐกิจชายแดน และ…
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอาเซียนปี 55 : สร้างรายได้สะพัดในไทยกว่า 2,500 ล้านบาท
ในปัจจุบัน ผู้คนส่วนใหญ่ต่างหันมาให้ความสำคัญในการเอาใจใส่ดูแลสุขภาพกันมากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคภัยต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่การเยียวยารักษา และเกิดค่าใช้จ่ายตามมาจำนวนมาก ส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการด้านสุขภาพ คือ โรงพยาบาลเอกชนต่างขยายบริการด้านสุขภาพ จากเดิมที่มุ่งเน้นการบาบัดรักษาโรคภัยต่างๆ ให้ครอบคลุมตั้งแต่การส่งเสริมสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง เพื่อป้องกันโรคภัยต่างๆ และการฟื้นฟูสุขภาพหลังการบาบัดรักษา รวมไปถึงบริการเสริมความงามเพื่อเสริมบุคลิกภาพที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในระยะหลัง จากกระแสความใส่ใจด้านสุขภาพที่เติบโตอย่างรวดเร็วดังกล่าว ทำให้หน่วยงานภาครัฐในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยต่างให้การสนับสนุนธุรกิจเอกชนที่ให้บริการด้านสุขภาพ เพื่อขยายตลาดในต่างประเทศ ซึ่งครอบคลุมทั้งกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา (ยังขาดความพร้อมของบริการด้านสุขภาพในประเทศ) และกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งส่วนใหญ่มีค่าบริการด้านสุขภาพอยู่ในระดับสูงรวมทั้งยังต้องรอคิวการใช้บริการนำน การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Tourism) คือ การที่ชาวต่างชาติ (ซึ่งในที่นี้จะเรียกว่านักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งมีทั้งผู้ปุวยต่างชาติที่เดินทางเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลในอีกประเทศ และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศพร้อมใช้บริการด้านสุขภาพ อาทิ ตรวจสุขภาพ ทาฟันศัลยกรรมความงาม…
คุณสมบัติของวิศวกร และสถาปนิก ที่จะโยกย้ายทำงานใน ASEAN ตามคุณสมบัติ MRA
ในปี 2558 ประเทศไทยจะเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) พร้อมกับเพื่อนประเทศสมาชิกอาเซียนอีก 9 ประเทศ โดยมีข้อตกลงที่กลุ่มสมาชิกอาเซียนยอมรับร่วมกันในเรื่องคุณสมบัติหรือมาตรฐานในแต่ละวิชาชีพ (Mutual Recognition Arrangement : MRA) อยู่ด้วย ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพหรือแรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษของอาเซียนได้อย่างเสรี จุดประสงค์ของ MRA ของอาเซียนก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพ โดยอาเซียนตกลงกันว่าจะยอมรับคุณสมบัติเพื่ออำนวยความสะดวกในขั้นตอนการขอใบอนุญาต แต่ MRA ของอาเซียนจะยังไม่ไปถึงขั้นที่จะยอมรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งกันและกัน และจะเน้นหลักว่านักวิชาชีพต่างด้าวจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในของประเทศที่ตนต้องการเข้าไปทำงาน วิศวกรไทยซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในความตกลง…