AEC จำเป็นที่จะต้องคานึงถึงประเด็นด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย เพราะประเทศสมาชิกแต่ละประเทศต่างมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ความเข้มงวดและความยืดหยุ่นของนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รูปแบบการค้าที่ประเทศสมาชิกจะนาเข้าหรือส่งออกสุทธิทรัพยากรธรรมชาติและสินค้าอื่นๆที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีการผลิต ความเข้มข้นในการใช้ปัจจัยการผลิต และความสามารถในการทดแทนกันได้ของปัจจัยการผลิตต่างๆ พฤติกรรมการบริโภคของประชาชนอีกทั้งทัศนคติของประชาชนในประเทศที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ซึ่งสามารถวัดเป็นมูลค่าได้จากความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)และประเด็นอื่นๆอีกมากมาย ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างปัจจัยสาคัญบางประการที่อาจทาให้ผลกระทบทางเศรษฐกิจของการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเกิดความแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศสมาชิก เพราะโดยหลักการแล้วเราจะต้องนาเอาต้นทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเข้ามาคิดคานวณเป็นส่วนหนึ่งของผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้วยเสมอ นั่นก็คือผลกระทบต่อกรีนจีดีพี (Green GDP) หรือผลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหักด้วยต้น ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งผลกระทบต่อสวัสดิการความเป็นอยู่ของประชาชน ความยากจนและการกระจายรายได้ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยกตัวอย่างเช่น กรณีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (พม่า) ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งดิน ป่าไม้อัญมณี น้ามัน และก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ…