แรงงานพม่าในไทย เมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ชาติที่เกี่ยวข้องกับบ้านเราในภาคธุรกิจมากที่สุดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นคือพม่า หรือ สหภาพเมียนมาร์ ที่ปัจจุบันมีแรงงานนับล้านคน ทั้งที่ถูกและไม่ถูกกฎหมายอาศัยอยู่ในพื้นที่เศรษฐกิจจนบางพื้นที่ถูกเรียกกันเล่นๆ ว่าเป็นจังหวัดใหม่ของพม่าไปเสียแล้ว แน่นอนว่า ประเด็นเหล่านี้หากมองในมุมความมั่นคงของชาติถือว่าเป็นเรื่องล่อแหลมมากเพราะในจำนวนแรงงานเหล่านี้ มีไม่น้อยที่ไม่สามารถระบุสัญชาติหรืออัตลักษณ์ส่วนบุคคลได้ ทำให้คนกลุ่มนี้หากก่ออาชญากรรมแล้วการจะติดตามจับกุมมาดำเนินคดีจะเป็นไปได้ยากมาก เนื่องจากไม่มีเอกสารใดๆ ของทางการที่บันทึกประวัติไว้เลย วันนี้สกู๊ปหน้า 5 จะพาไปรับฟังข้อคิดเห็นในด้านความมั่นคงจากหลายภาคส่วนที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ตามแนวชายแดนว่าพวกเขามีความกังวลอย่างไร หรือมองเห็นอะไรหลังจากผ่านวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2558 นี้ไปแล้วบ้าง แรงงานพม่านับล้านคนในไทย เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันเศรษฐกิจไทยดำรงอยู่และเติบโตได้นั้นแรงงานต่างด้าวชาวพม่ามีส่วนสำคัญไม่น้อย โดยเฉพาะกิจการด้านประมงและรับเหมาก่อสร้าง จากสถิติของกระทรวงแรงงานในปี พ.ศ.2553 พบว่ามีแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองอย่างถูกกฎหมายราว 1 ล้าน 3 แสนคน ในจำนวนนี้ร้อยละ…

ความสามารถในการแข่งขันของไทยในเวที ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

การจัดอันดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศต่างๆ 59 ประเทศทั่วโลกในปีนี้พบว่า ความสามารถการแข่งขันของประเทศไทยลดลงจากอันดับที่ 27 เมื่อปีที่แล้วและอันดับที่ 26 เมื่อปี2553 ลงมาอยู่ที่อันดับที่ 30 เนื่องจากไทยมีปัญหาการพัฒนาประเทศในหลายด้าน ส่งผลให้อันดับขีดความสามารถการแข่งขันของไทยลดลง 4 ด้าน คือประสิทธิภาพด้านเศรษฐกิจ ด้านการทำงานของรัฐบาล ด้านธุรกิจ และโครงการสร้างพื้นฐาน จากรายงาน The Global Competitiveness Report 2011-2012 โดย World Economic Forum (WEF) ที่สำรวจอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ…

สารพัดปัญหารุมเร้าขนส่งทางน้ำ เอกชนจี้รัฐเร่งพัฒนารองรับ AEC

ในช่วงที่กระทรวงคมนาคมกำลังจะนำเสนอโครงการพ.ร.บ.กู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา โดยคาดว่าอีกประมาณ 1 เดือน ก็จะเสนอครม.ได้ ซึ่งหากพิจารณาโครงการต่างๆ ที่อยู่ในพ.ร.บ.เงินกู้แล้ว รัฐบาลและกระทรวงคมนาคมจะเน้นหนักไปที่ระบบรางมากกว่าโหมดการขนส่งอื่นๆ เนื่องจากต้องการลดต้นทุนลอจิสติกส์ของประเทศ ขณะที่ทางฟากเอกชนโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางน้ำ เป็นอีกช่องทางในการส่งออกนำเข้าของประเทศ และยังสร้างรายได้เข้าประเทศจำนวนมหาศาลในแต่ละปี ที่สำคัญสามารถลดต้นทุนลอจิสติกส์ได้มากกว่าระบบขนส่งอื่นๆ ด้วย แต่ปัจจุบันการขนส่งทางน้ำยังคงเผชิญปัญหาหลายด้าน อาทิ อุปทานขนส่งทางเรือยังคงเติบโตเร็วกว่าอุปสงค์ อุปทานกองเรือในด้านขนส่งยังคงเติบโตในอัตราค่อนข้างสูง แต่เริ่มที่จะชะลอตัวลง เนื่องจากมีค่าระวางเรือที่ค่อนข้างต่ำ และมีอัตราการแข่งขันที่สูง ขณะที่ความต้องการของผู้บริโภคยังฟื้นตัวได้ไม่เร็วมากนัก แนวโน้มค่าระวางเรือยังคงไม่ฟื้นตัวดีมากนัก อุปสงค์ในด้านการขนส่งทางเรือเติบโตไม่ทัน จำนวนอุปทานที่ยังคงมีอยู่มากซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการกดดันดัชนี BDI…

เส้นทาง R3A ถนน AEC เชื่อมอาเซียนเข้าด้วยกัน

การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคงไม่สัมฤทธิผลถ้าระบบการขนส่งหรือลอจิสติกส์ไม่เพอร์เฟ็กต์ คือ ถ้าผลิตสินค้าชิ้นหนึ่งจะเอาไปขายในเวียดนาม ต้องโดยสารเครื่องบินอย่างเดียวก็คงทุนหายกำไรหด เอาเงิน ไปจ่ายค่าเครื่องบินเกลี้ยงผู้ส่งออกส่วนใหญ่จึงนิยมใช้การขนส่ง ทางเรือเป็นหลัก เพราะเสียค่าขนส่งน้อย แต่ข้อเสียคือ การขนส่งทางเรือใช้เวลาเดินทางนานหลายวัน ไม่เหมาะกับสินค้าบางชนิด เช่น อาหาร ผัก ผลไม้ ฯลฯ การขนส่งทางบกจึงเป็นวิธีที่น่าสนใจมากที่สุดค่าใช้จ่ายปานกลาง ระยะเวลาพอดี ไม่มากไป ไม่น้อยไป ปัจจุบันมีเส้นทางสายหนึ่งซึ่งน่าสนใจมาก ชื่อว่า เส้นทาง R3A ซึ่งเส้นทางนี้เชื่อมจากประเทศไทย (อาเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย) เข้าบ้านห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว (สปป.…

แรงงานข้ามชาติกับประชาคมอาเซียน (AEC)

ประเด็นเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนมักจะสร้างความสับสนอยู่เสมอ เนื่องจากหลายๆ คนเข้าใจว่าเมื่อมีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการในปี 2558 แล้ว แรงงานต่างด้าวโดยเฉพาะจากเมียนมาร์ สปป.ลาวและกัมพูชา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ (UNSKILLED LABOUR) จะไหลถาโถม เข้ามาทำงานในประเทศไทย และจะเข้ามาแย่งงานคนไทยทำ ซึ่งในความเป็นจริงประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศไม่เคยมีการตกลงแต่อย่างใดที่จะให้มี การเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ แม้จะมีเป้าหมายในการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี ก็เป็นเพียงการตั้งเป้าหมายว่าจะให้แรงงานฝีมือ (SKILLED LABOUR) สามารถเคลื่อนย้าย ได้เท่านั้น และในความเป็นจริง ณ ปัจจุบันการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี ก็ยังไม่ได้เกิดขึ้น จะมีก็เพียงการกำหนดคุณสมบัติไว้ก่อนเท่านั้นว่า ถ้าในวันหนึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนมีการอนุญาตให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือได้อย่างเสรีแล้ว แรงงานที่ทำได้ตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ในข้อตกลงยอมรับร่วม…

เจาะลึก AEC : ประเทศไทยต้องเตรียมพร้อมรับมือ AEC อย่างไรบ้าง

การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นมากกว่าการเปิดเสรีทางการค้า ที่นอกจากจะส่งผลให้อาเซียน 10 ประเทศ เป็นเหมือนประเทศเดียวกัน ไม่มีกำแพงภาษี ไม่มีการกีดกันทางการค้า สินค้า บริการ การลงทุน แรงงาน มีฝีมือเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี ยังจะประกอบไปด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจหลากหลายสาขา เช่น เกษตร การส่งเสริม SME การคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น ดังนั้นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน ภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการ ในฐานะผู้ใช้สิทธิประโยชน์จาก AEC จำเป็นต้องเรียนรู้ถึงโอกาสและความท้าทายที่กำลังจะเกิดขึ้น ทั้งในด้านการเปิดเสรี และการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนในอาเซียน ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของภาคเอกชนไทยในตลาดโลก หากรู้จักใช้ประโยชน์จากการเป็น AEC ไม่ว่าจะเป็นตลาดภูมิภาค…

การศึกษาอาเซียน AEC และการศึกษาของประเทศสิงคโปร์

เมื่อพิจารณาด้านความต้องการแรงงานของอาเซียน จะเห็นได้ว่า มีการกําหนดสาขาวิชาชีพหลักที่มีการจัดทําข้อตกลงยอมรับร่วมกัน หรือ MRA (Mutual Recognition Agreement) เพื่อรับรองคุณสมบัติวิชาชีพ และช่วยอํานวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรงงาน ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 8 สาขา คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี การสํารวจ และการท่องเที่ยว นั่นหมายความว่ า วิชาชีพเหล่านี้จะมีการแข่งขันกันสูง เราจึงต้องพัฒนาให้พร้อมกับการแข่งขัน และในอนาคต เป็นไปได้ที่อาเซียนรจะพิจารณาให้เปิดเสรีในสาขาวิชาชีพอื่นด้วย ในการพัฒนาบุคลากรวิชาชีพทั้ง 8…

ประเด็นเร่งด่วนในการพัฒนา ASEAN SMEs

วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) เป็นกลุ่มธุรกิจ ที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากเป็นกลไกหลักที่สนับสนุนการขับเคลื่อนกิจกรรมและการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมถึงเป็นแหล่งจ้างงานและการส่งออกที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจเหล่านี้ ดังจะเห็นได้จากตัวเลขเฉลี่ยทางสถิติ พบว่า วิสาหกิจเหล่านี้คิดเป็นร้อยละ 96 ของจำนวนวิสาหกิจทั้งหมดของระบบเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน และมีส่วนสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 42 ของมูลค่ารวมทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ส่งออกร้อยละ 25 ของมูลค่าการส่งออก ทั้งหมด และจ้างงานถึงร้อยละ 73 ของการจ้างงานทั้งหมดในระบบเศรษฐกิจ เมื่อพิจารณาสถิติสัดส่วน ของจำนวนวิสาหกิจต่อจำนวนประชากร 1,000 คน…

อุดจุดอ่อน-เสริมจุดแข็งเข็นโลจิสติกส์ไทยรับ AEC

"โลจิสติกส์" ถือเป็นภาคบริการแรกของไทยที่จะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ด้วยการเปิดให้ต่างชาติเข้ามาแข่งขันและเพิ่มสัดส่วนการลงทุนจาก 50% เป็น 70% ตั้งแต่ปี2556 เป็นต้นไป แต่ยิ่งเดินใกล้เข้าสู่AECมากเท่าไหร่ ภาพความไม่พร้อมของโลจิสติกส์ไทยก็ยิ่งชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น เพราะหากพิจารณาลึกลงไป จะเห็นว่าไทยยังมีต้นทุนการขนส่งสูงและมีความน่าสนใจน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคอาเซียน ปัญหาสำคัญที่เห็นได้ชัดเจน คือ โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทั้งหมดที่ไม่เอื้อประโยชน์ต่อภาคบริการโลจิสติกส์แม้แต่น้อย จากปัจจุบันที่ไทยใช้การขนส่งทางรถเป็นหลักสูงถึง 86% ซึ่งเป็นระบบขนส่งที่มีต้นทุนสูงจากน้ำมันเชื้อเพลิง และสร้างมลภาวะมากที่สุด ขณะที่สหรัฐอเมริกาญี่ปุ่น แคนาดา ใช้การขนส่งทางรถไม่ถึง 50% ขณะที่เมื่อเทียบกับระบบรถไฟที่มีต้นทุนต่ำมาก ไทยกลับไม่มีความพร้อมด้านการขนส่งทางรถไฟเลย เพราะปัจจุบันไทยมีเส้นทางรถไฟเพียง 4,000 กม.…

AEC ว่าด้วยการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรี : เสรีได้แค่ไหน?

(Asean Economic Community : AEC) จากกำหนดเดิมวันที่ 31 มกราคม 2558 เป็นวันที่ 31 ธันวาคม 2558 การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีจุดมุ่งหมายให้ อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (Single Market and Production Base) สามารถเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน คนงานที่มีฝีมือ และ เงินทุนภายในอาเซียนได้ อย่างเสรี การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกันของอาเซียน ที่สามารถเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรีภายในกลุ่มประเทศอาเซียนนั้น มีบางท่านเข้าใจว่า…