ความสามารถในการแข่งขันของไทยในเวที ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

การจัดอันดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศต่างๆ 59 ประเทศทั่วโลกในปีนี้พบว่า ความสามารถการแข่งขันของประเทศไทยลดลงจากอันดับที่ 27 เมื่อปีที่แล้วและอันดับที่ 26 เมื่อปี2553 ลงมาอยู่ที่อันดับที่ 30 เนื่องจากไทยมีปัญหาการพัฒนาประเทศในหลายด้าน ส่งผลให้อันดับขีดความสามารถการแข่งขันของไทยลดลง 4 ด้าน คือประสิทธิภาพด้านเศรษฐกิจ ด้านการทำงานของรัฐบาล ด้านธุรกิจ และโครงการสร้างพื้นฐาน

วิธีการทำอาชีพอิสระ

จากรายงาน The Global Competitiveness Report 2011-2012 โดย World Economic Forum (WEF) ที่สำรวจอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ 142 ประเทศ พบว่า อันดับความสามารถทางการแข่งขันของไทยปรับลดลง 1 ตำแหน่ง จากลำดับที่ 38 เมื่อปีที่แล้วเป็น 39 ในปีนี้(เช่นเดียวกับอินโดนีเซียที่ปรับลดจากลำดับที่ 44 เป็น46 เวียดนาม จาก 59 เป็น 65) ขณะที่ประเทศที่มีลำดับดีขึ้นได้แก่ สิงคโปร์ ดีขึ้นจากลำดับ 3 เป็น 2 มาเลเซีย จาก 26 เป็น 21 ฟิลิปปินส์ จาก 85 เป็น 75 กัมพูชา จาก 109 เป็น97 ส่วนบรูไน ลำดับเท่าเดิม คือ 28

โดยหากพิจารณาด้านปัจจัยพื้นฐาน ปัจจัยที่ไทยมีลำดับไม่ค่อยดี คือ ปัจจัยที่เกี่ยวกับสุขภาพและการศึกษาพื้นฐานของประชาชน (ได้ลำดับที่ 83) แต่ที่ดีคือ ความแข็งแรงทางเศรษฐกิจ (ได้ลำดับที่ 28)

หากพิจารณาเฉพาะอันดับความสามารถด้านการพัฒนาประสิทธิภาพ ปรากฏว่าลำดับของไทยจะอยู่ที่ 43 โดยปัจจัยที่ไทยอยู่ในลำดับที่ค่อนข้างต่ำ คือ ความพร้อมด้านเทคโนโลยี (ได้ลำดับที่ 84) และการศึกษาในระดับสูง (ได้ลำดับที่ 62) และส่วนปัจจัยอื่นๆก็อยู่กลางๆ ลำดับแถวๆ 40-50 จึงเห็นได้ว่า ปัญหาใหญ่ของไทย คือ การพัฒนาประชาชนซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน ทั้งในระดับประเทศระดับอุตสาหกรรม และระดับองค์กรนั้น ทั้งนี้จากรายงานของ International Institute for Management Development (2003) มีนักวิชาการหลายท่านสรุปว่าความสามารถในการแข่งขันนอกจากมาจากปัจจัยการผลิต 4 ประการ คือ ที่ดิน ทุน ทรัพยากรธรรมชาติ และแรงงานแล้ว การศึกษา นวัตกรรมทางเทคโนโลยี และการเพิ่มองค์ความรู้พิเศษ ก็เป็นปัจจัยสำคัญ ไม่ต้องพูดกันถึงความรู้ด้านเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆ (ไทยมีงบลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาเพียง 0.24% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เท่านั้นต่ำกว่ามาเลเซียและสิงคโปร์มาก) เพราะลำพังความรู้พื้นฐานด้านภาษาอังกฤษที่กฎบัตรอาเซียนข้อ 34 บัญญัติเอาไว้ว่า

ความสามารถด้านภาษาอังกฤษของเด็กไทยก็ยังอยู่ในระดับต่ำ จากรายงานดัชนีความสามารถด้านภาษาอังกฤษ (EF English Proficiency Index) ปี 2011 ของสถาบันสอนภาษา Education First (EF) สถาบันสอนภาษาชั้นนำของโลก ซึ่งดัชนีดังกล่าวทำมาจากการรวบรวมข้อมูลจากประชากรในวัยทำงานกว่า 2 ล้านคนใน 44 ประเทศที่ภาษาอังกฤษไม่ได้เป็นภาษาแม่ทั่วโลก การวัดผลก็จะวัดจากการทดสอบความสามารถด้านภาษาอังกฤษ

ผลของการวัดความสามารถด้านภาษาอังกฤษดังกล่าวปรากฏว่าความสามารถด้านภาษาอังกฤษของไทยอยู่ในอันดับที่ 42 จาก 44 ประเทศ โดยจัดอยู่ในกลุ่มความสามารถด้านภาษาอังกฤษต่ำมาก (Very Low Proficiency)และหากเทียบเฉพาะประเทศ ในทวีปเอเชียที่ทำการวิจัยมี 13 ประเทศ ปรากฏว่าประเทศที่มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษสูงสุด ได้แก่ มาเลเซีย รองลงมา คือ ฮ่องกง เกาหลีใต้ ญี่ปุ่นไต้หวัน ซาอุดีอาระเบีย จีน อินเดีย รัสเซีย อินโดนีเซียเวียดนาม ไทย คาซัคสถาน ตามลำดับ ซึ่งน่าตกใจมาก เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญของภาษาอังกฤษในระดับที่สูงมาก เด็กๆ จะเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ชั้นประถมนับถึงมหาวิทยาลัยก็มากกว่า 10 ปี แต่ทาไมภาษาอังกฤษของเด็กไทยถึงยังแพ้เวียดนาม

ที่มา : โพสต์ทูเดย์