เจาะลึก AEC : ประเทศไทยต้องเตรียมพร้อมรับมือ AEC อย่างไรบ้าง

การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นมากกว่าการเปิดเสรีทางการค้า ที่นอกจากจะส่งผลให้อาเซียน 10 ประเทศ เป็นเหมือนประเทศเดียวกัน ไม่มีกำแพงภาษี ไม่มีการกีดกันทางการค้า สินค้า บริการ การลงทุน แรงงาน มีฝีมือเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี ยังจะประกอบไปด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจหลากหลายสาขา เช่น เกษตร การส่งเสริม SME การคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น ดังนั้นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน

ภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการ ในฐานะผู้ใช้สิทธิประโยชน์จาก AEC จำเป็นต้องเรียนรู้ถึงโอกาสและความท้าทายที่กำลังจะเกิดขึ้น ทั้งในด้านการเปิดเสรี และการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนในอาเซียน ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของภาคเอกชนไทยในตลาดโลก หากรู้จักใช้ประโยชน์จากการเป็น AEC ไม่ว่าจะเป็นตลาดภูมิภาค ฐานการผลิต ฐานการลงทุน และพันธมิตรทางการค้า

วิธีการทำอาชีพอิสระ

ภาคประชาชน ในฐานะผู้บริโภค จะเกี่ยวข้องกับ AEC โดยการมีโอกาสในการเลือกซื้อสินค้าและบริการจากประเทศอาเซียนอื่นที่มีคุณภาพและราคาที่หลากหลายมาก ขึ้น รวมทั้งมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองจากการบริโภคข้ามพรมแดน ขณะเดียวกัน ประชาชนก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจในคุณภาพ และมาตรฐานสินค้า และการให้บริการต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่ถูกเอาเปรียบ/หลอกลวงจากสินค้าหรือบริการที่ด้อยคุณภาพ

ภาคประชาชน ในฐานะลูกจ้างไม่ว่าจะอยู่ในภาคราชการ หรือภาคเอกชน จะมีโอกาสและความท้าทายที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือในภูมิภาคที่ง่ายขึ้น เป็นการเพิ่มโอกาส ในการเข้าไปท้างานในประเทศสมาชิกอาเซียน และเพิ่มรายได้จากการทำงานในต่างประเทศ แต่ในทางกลับกันก็จะต้องเผชิญการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดแรงงานภายในประเทศจากแรงงานมีฝีมือของประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น

ภาครัฐ ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลกฎหมายและกฎระเบียบภายในประเทศ จำเป็นต้องเร่งปรับโครงสร้างการบริหาร จัดการให้สอดคล้องกับพันธกรณีภายใต้ AEC รวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสาขาต่างๆ เพื่อรองรับการเป็น AEC

ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ ได้ก้าหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและขยายการค้าของไทยสู่ตลาดอาเซียน โดยแบ่งเป็น 7 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่

(1) พัฒนาระบบและฐานข้อมูลการค้าการลงทุน เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีการค้าสินค้า บริการและการลงทุน โดยปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัย เชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และกระจายข้อมูลข่าวสารสู่ภาคเอกชน

(2) สร้างความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐของไทยและอาเซียน โดยจัดให้มีการพบปะระหว่างเจ้าหน้าที่ภาครัฐของอาเซียนอย่างสม่ำเสมอ การจัดคณะผู้บริหารระดับสูงของไทยเยือนอาเซียน และเชิญคณะผู้บริหารระดับ สูงภาครัฐของอาเซียนเยือนไทย รวมทั้งสนับสนุนโครงการให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านในกรอบต่างๆ

(3) ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายพันธมิตรระหว่างภาคธุรกิจไทยและอาเซียน โดยส้านักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน 9 ส้านักงานใน 8 ประเทศ จะให้ความช่วยเหลือ ภาค เอกชนไทยในการจับคู่พันธมิตรธุรกิจทั้งในด้านการค้าสินค้า/บริการ การลงทุนและการแลกเปลี่ยนวัตถุดิบ/สินค้าขั้นกลาง และ การสร้างเครือข่ายกับห้างค้าปลีกรายใหญ่ในกลุ่มประเทศอาเซียน ผ่านการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าไทยอย่างต่อเนื่อง

(4) ส่งเสริมสินค้าและธุรกิจบริการที่ตรงกับความต้อง การของตลาดอาเซียน โดยการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในอาเซียน การจัดคณะผู้แทนการค้าในกลุ่มสินค้าเป้าหมายเยือนประเทศในกลุ่มอาเซียน การเชิญคณะผู้แทนการค้าอาเซียนมาไทย การจัดงานแสดงสินค้าไทย Thailand Exhibitions/Outlets โดยมุ่งเน้นสินค้าที่มีศักยภาพ เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค : ลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า สินค้าอาหาร : สิงคโปร์ มาเลเซีย สินค้าแฟชั่น (เสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องหนัง) : สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ชิ้นส่วนยานยนต์ และผลิตภัณฑ์ยาง : เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย เครื่องใช้ในบ้านของตกแต่งบ้าน : อินโดนีเซีย มาเลเซีย เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์/เครื่องปรับอากาศและท้าความเย็น : ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เป็นต้น

(5) ยกระดับภาพลักษณ์สินค้าและธุรกิจบริการไทย และส่งเสริมการสร้างตราสินค้าไทย โดยส่งเสริมผู้ประกอบการไทยในการสร้างตราสินค้าในอาเซียนและการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์สินค้า/ธุรกิจบริการไทยผ่านกิจกรรมการตลาด/สื่อต่างๆ

(6) ส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs เช่น การจัดตั้ง SMEs Club การจัดฝึกอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการไทยในการขยายการค้า และการลงทุนในตลาดอาเซียน เช่น สัมมนากลยุทธ์การส่งเสริมธุรกิจแฟชั่นไทยก้าวไกลในอาเซียนรองรับ AEC สัมมนาโอกาสธุรกิจก่อสร้างในตลาดอาเซียน สัมมนาลู่ทางการท้าธุรกิจและการลงทุนในอาเซียน เป็นต้น

(7) พัฒนาระบบลอจิสติกส์และอ้านวยความสะดวกทางการค้า เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้า (Trading Nation) และศูนย์กระจายสินค้าของภูมิภาค (Hub of Distribution Center)

ทั้งนี้ นโยบายกระทรวงพาณิชย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ AEC จ้าเป็นต้องมีการบูรณาการ ทั้งภายในกระทรวงพาณิชย์ หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ รวมทั้งภาคเอกชน ในการจัดท้ายุทธศาสตร์เป็นรายประเทศ โดยมุ่งเน้นสินค้าและบริการที่มีศักยภาพในตลาดนั้นๆ เพื่อให้บรรลุผลส้าเร็จในการพัฒนาการค้าและการลงทุนของไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ที่มา : สยามธุรกิจ