ทำงานทุกอย่างที่ทำให้คุณมีเงินเพิ่มมากขึ้น

  ถ้าเป็นงานสุจริตขอให้ลงมือท่ามันเถอะ อย่าปล่อยให้คำว่า "ไม่มีงานทำ" เกิดขึ้นกับคุณเป็นอันขาด เพราะไม่ใช่หมายความว่า คุณไม่มีงานทำ หรือไม่มีอะไรเหมาะแก่การที่คุณจะต้องทำหรอก อาจจะด้วยเหตุผลที่ว่า "มันไม่คุ้ม" หรือเหตุผลใดๆ ก็ตาม แต่ว่าถ้าหากคุณลงมือทำจริงๆ ย่อมดีกว่าปล่อยให้เวลาผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ไม่ใช่หรือ ระหว่างคน 2 คน ที่มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ทำงานเท่ากัน เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นจึงทำให้ทั้งคู่กลายเป็นคนตกงาน และมีเงินออมอยู่ไม่มากนัก แต่ละคนต่างก็ใช้ความคิดอย่างหนักว่าจะดำเนินชีวิตอยู่ต่อไปได้อย่างไร ในขณะที่ยังต้องมีภาระใช้จ่าย ต้องกินต้องใช้ในยามวิกฤติเช่นนี้ การตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ของทั้งสองคนต่างกันดังนี้ คนแรกเลือกที่จะหยุดทุกสิ่งทุกอย่างให้อยู่นิ่งๆ เพื่อรอให้เศรษฐกิจกลับสู่สภาพดีดังเดิมเสียก่อน เขาให้เหตุผลว่าหลักการทำธุรกิจ หรือการค้าขายใดๆ ก็ตามมันต้องดูช่วงเวลาว่าเอื้ออำนวยมากแค่ไหน…

อยากมีเงินมาก ก็ต้องทำงานให้มากขึ้น เท่านั้นเอง

เรารู้กันแล้วว่า เราถูกโปรแกรมมาในทางลบหรือทางขาดแคลนจากโลกแห่งข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ครอบครัว เพื่อน อีเมลล์ หรืออินเตอร์เน็ต ฯลฯ มาตั้งแต่เด็กๆ สิ่งเหล่านั้นมีบทบาทอย่างไรในการฉุดคุณไว้เบื้องหลัง? ข้อแรก คุณอาจรู้สึกว่า คุณจะทำให้ครอบครัวเสียหน้า หรือกลัวว่าเพื่อนจะไม่ชอบคุณอีกต่อไป แล้วหากคุณทำให้ความมั่งคั่งเกิดขึ้นมา คนที่ถูกโปรแกรมความขาดแคลนไว้ก็จะพูดว่า “เธอจ่ายไปเท่าไหร่น่ะ มันไม่สูงเกินไปหน่อยหรือ?” “จริงๆ แล้วเธอจำเป็นต้องมีแค่ไหนถึงจะพอ?” “ไม่เห็นเหรอ คนไม่มีจะกินกินอีกมากมาย แล้วยังจะกินกันขนาดนี้เชียวหรอ?” คุณก็เริ่มรู้สึกผิดถ้าจะซื้อเสื้อตัวนั้น อาหารจานนั้น หรืออะไรที่ดูค่อนข้างจะหรูหราเช่นนั้น หรือเมื่อคุณมีความสัมพันธ์ที่ดีคุณก็จะเริ่มถ่อมตัวต่อหน้าเพื่อนที่มีความสัมพันธ์ไม่ดีกับคู่รัก…

กฎ 10 ข้อที่ทำให้คุณมีเงินมากขึ้น

กฎข้อที่หนึ่ง บันทึกรายรับรายจ่าย ก่อนนอนทุกคืนให้จดรายรับรายจ่ายประจำวัน เพราะสามารถทำให้เรารู้ว่าเราสุรุ่ยสุร่ายหรือไม่ พร้อมทั้งควรจะรู้ว่าควรอดออมอย่างไร เพื่อสร้างนิสัยการใช้เงินที่ดี กฎข้อที่สอง ทำงบประมาณ นั่นคือกำหนดกะเกณฑ์ว่ารายรับของเราที่ได้มา จะใช้เพื่อเก็บ เพื่อใช้ เพื่อลงทุน หรือเพื่อสังคมอย่างไร ทำให้เรามีความอบอุ่นมั่นใจ และมีกรอบในการใช้เงิน กฎข้อที่สาม ประเมินเงินเข้าออก บริษ้ทต่าง ๆ จะมีฝ่ายจัดซื้อ ทำหน้าที่ชื้อของดีที่สุด ราคาเหมาะสมที่สุด หมายถึงเงินที่จ่ายออกไปต้องได้ของมีคุณค่าที่ดีกลับมา กฎข้อที่สี่ เลิกฟุ่มเฟือย คนที่มีรายจ่ายมากกว่ารายรับ เพราะไม่รู้จักทำงบประมาณการเงิน และไม่รู้จักประมาณตน ไม่สามารถระงับความอยาก สุดท้ายก็มีหนี้สินพอกพูน…