กฎข้อที่หนึ่ง บันทึกรายรับรายจ่าย
ก่อนนอนทุกคืนให้จดรายรับรายจ่ายประจำวัน เพราะสามารถทำให้เรารู้ว่าเราสุรุ่ยสุร่ายหรือไม่ พร้อมทั้งควรจะรู้ว่าควรอดออมอย่างไร เพื่อสร้างนิสัยการใช้เงินที่ดี
กฎข้อที่สอง ทำงบประมาณ
นั่นคือกำหนดกะเกณฑ์ว่ารายรับของเราที่ได้มา จะใช้เพื่อเก็บ เพื่อใช้ เพื่อลงทุน หรือเพื่อสังคมอย่างไร ทำให้เรามีความอบอุ่นมั่นใจ และมีกรอบในการใช้เงิน
กฎข้อที่สาม ประเมินเงินเข้าออก
บริษ้ทต่าง ๆ จะมีฝ่ายจัดซื้อ ทำหน้าที่ชื้อของดีที่สุด ราคาเหมาะสมที่สุด หมายถึงเงินที่จ่ายออกไปต้องได้ของมีคุณค่าที่ดีกลับมา
กฎข้อที่สี่ เลิกฟุ่มเฟือย
คนที่มีรายจ่ายมากกว่ารายรับ เพราะไม่รู้จักทำงบประมาณการเงิน และไม่รู้จักประมาณตน ไม่สามารถระงับความอยาก สุดท้ายก็มีหนี้สินพอกพูน
กฎข้อที่ห้า เลี่ยงดอกเบี้ยสูง
จะทำอะไรควรทำในวงเงินที่ตัวเองมีอยู่ การกู้เงินนอกระบบหรือการผิดนัดชำระบัตรเครดิต ทำให้มีรายจ่ายสูง ระบบการเงินผิดพลาด จึงควรซื้อของด้วยเงินสดมากที่สุด ผ่อนน้อยที่สุด ควบคุมให้อยู่ในงบประมาณให้ได้
กฎข้อที่หก รู้จักเสียดาย
นั่นคือต้องรู้จักค่าของเงิน ถ้าเรารู้คุณค่าจะทำให้เราใช้เงินเป็น พ่อแม่ควรสอนให้ลูกออมเงินตั้งแต่ยังเล็ก เพื่อสร้างชีวิตที่ไม่มีความทุกข์เรื่องเงินให้กับคนที่เรารัก
กฎข้อที่เจ็ด จัดการเรื่องประกัน
ประกันชีวิต ประกันรถ ประกันภัย จ่ายน้อยแต่คุ้มครองภัย ทำให้เรามีหลักประกันที่มั่นคง
กฎข้อที่แปด งานอดิเรกทำเงิน
นอกจากงานประจำ ทุกคนมักมีสิ่งที่รักเป็นงานอดิเรก เช่น สะสมแสตมป์ ปลูกต้นไม้ ทำอาหาร ซึ่งงานอดิเรกเหล่านี้สามารถทำเงินได้
กฎข้อที่เก้า งดการพนัน
ข้อนี้ไม่ต้องบอกมาก เพราะความเลวร้ายของการพนันสามารถผลักให้ทั้งครอบครัวลำบากยากเข็ญได้
กฎข้อที่สิบ ไม่ซื้อ ไม่เป็นไร
แม้มีข้อสี่ คือเลิกฟุมเฟือย แต่คนจำนวนมากหมดเงินเพราะระงับความอยากไม่ได้ และของเหล่านี้มักรกบ้านรกชีวิต จึงแนะนำวิธีแก้ให้อีกครั้งหนึ่ง
1. ก่อนจะออกไปหาซื้อของ ให้จดรายการของที่จะซื้อไว้ เวลาซื้ออย่าไปซื้อของที่ไม่มีอยู่ในรายการที่จดไว้
2. หลีกเลี่ยงการเดินดูสินค้าตามร้านให้ได้ สินค้าบางอย่างที่คุณเจออาจจะถูกใจคุณจนอดใจที่จะซื้อไม่ได้ การดูมันและเห็นมันอาจจะทำให้คุณต้องควักกระเป๋าชื้อ
3. อย่าห้ามตัวเองมากเกินไป คุณควรจะจัดสรรเงินจำนวนหนึ่ง ไว้สำหรับซื้อของที่ไม่แพงโดยคิดไว้เสียก่อนว่ามีอะไร การมีเงินไว้สำหร้บซื้อของที่คุณอยากได้นี้ จะลดความอยากซื้อของโดยไม่เจตนาลงไป
4. ไปหาชื้อของเฉพาะในเวลาที่คุณตั้งใจจะซื้ออะไรสักอย่าง อย่าเห็นว่าการหาซื้อของเป็นการฆ่าเวลา หรือเป็นความบันเทิง ถ้าอยากได้ความบันเทิงก็ควรจะไปคุยกับเพื่อน หรือไปดูหนังดีกว่า
5. ระหว่างที่คุณกำลังชอปปิ้ง ถ้าเห็นอะไรถูกใจควรจะเดินหนีมันไปสัก 10 นาทีเพื่อไม่ให้มันมีอิทธิพลต่อความอยากได้ของคุณ หนีออกมา แล้วก็หาเหตุผลสัก 5 อย่างว่าเพราะอะไรจึงไม่ควรชื้อมัน ถ้าคุณได้มีเวลาคิด คุณก็อาจจะนึกออกว่าของที่คุณอยากได้นั้นไม่มีความจำเป็นสำหรับคุณเลย
เก็บเงินไว้เพื่อลงทุน หรือใช้จ่ายในยามจำเป็น หรือคับขันย่อมดีกว่าการไปเอของไม่จำเป็นมาไว้ให้รกบ้าน