4 วิธีรับมือกับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก FTA ไทย-จีน
สิ่งหนึ่งที่อยู่คู่สังคมมนุษย์มาตลอดก็คือการค้าขายแลกเปลี่ยน หากพูดกันตามความเป็นจริงแล้ว การค้าขายมีวิวัฒนาการควบคู่กับมนุษย์มาโดยตลอด ตั้งแต่ในอดีตแรกเริ่มที่ยังไม่มีการผลิตเงินขึ้นมาใช้กันก็แลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันโดยตรง จะแตกต่างก็ตรงปริมาณและความพึงพอใจในการตกลงกันของทั้ง 2 ฝ่ายเท่านั้น ต่อมาเมื่อมีการผลิตเงินขึ้นมาเป็นตัวกลางในการชำระแลกเปลี่ยนสินค้า ความก้าวหน้าของการค้าขายก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นระบบธุรกิจ และยังคงพัฒนาต่อไปจากเดิมที่ค้าขายแต่ในประเทศ ก็เริ่มให้ความสนใจและทำการค้าขายกับต่างประเทศซึ่งเรียกว่าการทำธุรกิจข้ามชาติ การทำธุรกิจค้าขายระหว่างประเทศแต่เดิมก็มีอุปสรรคต่างๆ มากมายอยู่แล้ว ทั้งในเรื่องของวัฒนธรรมและภาษาที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง อีกปัญหาที่มักพบอยู่ตลอดคือการกีดกันทางการค้า ไม่ให้สินค้าของประเทศหนึ่งเข้ามาขายในประเทศตนเอง โดยอาจใช้วิธีเรียกเก็บภาษีในอัตราที่สูงเกินจริง หรือบางครั้งอาจติดในเรื่องข้อกฎหมายหรือข้อกำหนดและข้อบังคับทางการค้าที่แต่ละประเทศมีไม่เหมือนกัน สิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาล้วนเป็นอุปสรรคในการทำการค้าทั้งสิ้น โดยเฉพาะในศตวรรษที่ 21 ที่กระแสการแข่งขันในโลกธุรกิจขับเคี่ยวกันอย่างรุนแรง การเกิดอุปสรรคดังที่ได้กล่าวมานั้นจึงถือเป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างมากในการทำธุรกิจ จึงได้มีผู้ริเริ่มนำเสนอแนวคิดการทำเขตการค้าเสรีขึ้นหรือที่เรารู้จักกันในชื่อที่คุ้นเคยว่า FTA (Free Trade Area)…