ตัวอย่างการพัฒนาการของสิงคโปร์ ไทยควรเร่งพัฒนาเตรียมพร้อมสู่ AEC
การศึกษาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์ เป็นเพียงการช่วยให้เรามองเห็นจุดที่ไทยยังต้องพัฒนา เพื่อเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจและรองรับการเป็นกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community: AEC) โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพแรงงานและเทคโนโลยีศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงมองว่า ไทยต้องสร้างแนวทางในการใช้เทคโนโลยี เพื่อการผลติในรูปแบบของตัวเอง โดยอาจมีการเลือกกาหนดอุตสาหกรรมเปูาหมายที่เหมาะสมกับสถานการณ์การผลิตโดยรวมของประเทศ เช่น อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าเกษตร สุขภาพ การท่องเที่ยว เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถนาแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ มาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้แกสินค้าและบริการควบคู่ไปกับเทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์ในเรื่องข้อจากัดทางการเงินของธุรกิจ SMES ที่มีส่วนสาคัญต่อภาคธุรกิจของไทย นอกจากนี้ ไทยต้องพัฒนาคุณภาพของกาลังแรงงานควบคู่กันไปด้วย หากไทยนกระดับขีดความสามารถในการผลิตได้ จะส่งผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสามารถแข่งขันได้ทัดเทียมต่างชาติ ไม่เพียงแต่ใน AEC แต่รวมถึงประเทศอื่นๆ จากทั่วโลกด้วย…
ประเทศไทยจะเป็นอย่างไรหลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC)
โดยปรกติแล้วได้รับเชิญให้ไปบรรยายและให้ความรู้ในประเด็นต่างๆ อยู่เป็นประจำ ในระยะหลังนั้น หัวข้อที่ผมได้รับเชิญให้ไปพูดบ่อยครั้งมากที่สุดแทบไม่เว้นแต่ละวันคือประเด็นที่เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ซึ่งถึงแม้ว่าประเด็นนี้จะถูกกล่าวถึงมากขึ้น แต่การสำรวจที่ผ่านมากลับพบว่า คนไทยที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนมีสัดส่วนน้อยมาก ซึ่งในบทความจะตอบคำถามที่ว่าประเทศไทยจะเป็นอย่างไรหลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน? สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยมีหลายประการ เช่น 1) เศรษฐกิจขยายตัวมากขึ้น ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว คือ การลดอัตราภาษีนำเข้าเหลือร้อยละ 0 และการขจัดมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีของประเทศสมาชิกอาเซียน ทำให้มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับอาเซียนขยายตัวสูงขึ้น นอกจากนี้การเปิดเสรีการลงทุนจะทำให้มีเงินลงทุนโดยตรงจากประเทศสมาชิกอาเซียนเข้ามายังประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในธุรกิจบริการที่อนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นได้สูงถึงร้อยละ 70 เช่น การขนส่งทางอากาศ บริการด้านการท่องเที่ยว บริการสุขภาพ และบริการโลจิสติกส์ เป็นต้น รวมทั้งการลงทุนจากประเทศนอกกลุ่มอาเซียนมายังประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากภูมิศาสตร์ของไทยเหมาะแก่การลงทุนเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งไปยังประเทศอื่นในภูมิภาค ที่สำคัญคาดหมายว่าจะมีนักท่องเที่ยวจากอาเซียนเพิ่มมากขึ้น…
การเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน เป็นประเด็นผลกระทบที่น่าจับตามอง
ข้อตกลงการค้าบริการขององค์การการค้าโลก ได้ระบุให้มีการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงาน โดยถือเป็น 1 ใน 4 รูปแบบของการค้าบริการด้วย แต่ปรากฏว่าการเปิดเสรีดังกล่าวในแต่ละประเทศกลับจำกัดคำว่า “แรงงาน” อยู่ในวงแคบๆ โดยการเปิดเสรีเฉพาะแรงงานระดับสูงในภาคบริการเท่านั้น เช่น นักบริหาร ผู้จัดการ หรือนักวิชาชีพเฉพาะสาขา เช่น วิศวกร นักกฎหมาย แพทย์ ฯลฯ ซึ่งแรงงานเหล่านี้เป็นทรัพยากรที่ประเทศด้อยพัฒนาขาดแคลนอยู่แล้ว และมีไม่เพียงพอแม้แต่จะใช้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตนเอง การเปิดเสรีแรงงานในภาคดังกล่าวจึงไม่เป็นประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนามากนัก ในทางตรงกันข้าม สิ่งที่ประเทศกำลังพัฒนามีอย่างเหลือล้นและพร้อมที่จะส่งออก ก็คือ แรงงานระดับล่างไม่ว่าจะเป็น กรรมกร แม่บ้าน คนงานก่อสร้าง…
ศักยภาพ ข้าว, ถั่วเหลือง, ข้าวโพด, กาแฟ, มันสำปะหลัง กับ AEC
การยกเลิกกำแพงภาษีและลดอุปสรรคทางการค้าสินค้าเกษตร ภายใต้การเปิดตลาดสินค้าเกษตร หลังการรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) แล้ว ในภาพรวมจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้ฐานการผลิตเดียวกัน การขยายการส่งออก และโอกาสทางการค้าสินค้าเกษตรและบริการ เนื่องจากอาเซียนจัดเป็นตลาดใหญ่มีประชากรรวมกันถึง 580 ล้านคน ทั้งยังเป็นยุทธศาสตร์เศรษฐกิจที่สำคัญและได้รับความสนใจจากประเทศคู่ค้า จนมีการลงนามความตกลงเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน +1 ไปแล้ว 6 ประเทศ ได้แก่ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, อินเดีย, ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ ความตกลงเปิดการค้าเสรี (FTA) เหล่านี้ส่งผลให้อาเซียนมีอำนาจต่อรองในเวทีระดับโลก ทั้งเวที องค์การการค้าโลก (WTO) หรือการรวมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ…
การท่องเที่ยวไทยในอาเซียน และทิศทางหลังเปิด AEC
เมื่อปี พ.ศ.2558 ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เราจึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าคนไทยและภาคธุรกิจทุกแขนงต้องตื่นตัว และเรียนรู้ภาษา วัฒนธรรม ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนด้วยกันให้มากขึ้น เพื่อเป็นการเปิดโลกกว้าง และเป็นจุดเริ่มต้นการเตรียมความพร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในอนาคต การเปิดเสรีบริการด้านการท่องเที่ยว ซึ่งรวมถึงธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องภายใต้กรอบอาเซียนแต่ขณะเดียวกันก็ทำให้มีความเป็นไปได้สูงว่าแนวโน้มการแข่งขันในอนาคตจะยิ่งทวีความเข้มข้นเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน การเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในเมืองไทยด้วยการถือครองสัดส่วนการถือหุ้นที่เพิ่มมากขึ้น จากคู่แข่งทั้งรายเดิมและรายใหม่ที่ต้องการเข้าสู่ตลาดเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งในตลาดการให้บริการด้านการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะมีขนาดใหญ่ขึ้นตามแนวโน้มมูลค่าเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนโดย หากจะพิจารณารายได้จากการท่องเที่ยวของประเทศไทยที่ผ่านมา สามารถแสดงข้อมูลได้ดังนี้ ที่มา : ข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จากข้อมูลข้างต้นรายได้ของประเทศไทยที่มาจากการท่องเที่ยว 592,794 ล้านบาท ในปี 53 และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยให้ข้อมูลประมาณการรายได้ในปี 54 ไว้ที่ 700,000 ล้านบาท เติบโตในอัตรา 18% ชึ้ให้เห็นถึงศักยภาพการท่องเที่ยวของประเทศไทยมีแนวโน้มในทิศทางที่ดี…
ตลาดส่งออกข้าว โอกาสและอุปสรรคของไทย
ตลาดข้าวโลกในปัจจุบัน (มิถุนายน 2553) ขณะนี้ ประเทศต่างๆ ผลิตและบริโภคข้าวประมาณ 430 ล้านตัน/ปี แต่ส่วนใหญ่เป็นการผลิตและบริโภคภายในประเทศ ปริมาณข้าวที่เหลือสำหรับขายระหว่างประเทศอยู่ที่ประมาณ 29-30 ล้านตัน/ปี ประเทศที่ผลิตข้าวเป็นดับ 1 คือจีน (ประมาณ 130 ล้านตัน/ปี) และอันดับ 2 คืออินเดีย (ประมาณ 80-90 ล้านตัน/ปี) ส่วนไทยผลิตข้าวมากเป็นอันดับ 6 (ประมาณ 19 ล้านตัน/ปี) แต่เป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ…
ความแตกต่างระหว่าง EU กับ AEC
ในหลายการประชุมที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็น ผู้ประกอบธุรกิจได้มองหาสูตรสำเร็จในการปรับโครงสร้างองค์กร เพื่อรองรับการรวมกลุ่มเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน AEC ซึ่งจะมาถึงในอนาคตอันใกล้เพื่อจะตอบคำถาม สหภาพยุโรปดูเหมือนจะเป็นแม่แบบของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ทั้งในเชิงความแข็งแกร่งในภูมิภาค และบทบาทที่เพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจโลก จนถึงปัญหาวิกฤติหนี้ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งหลายสำนักเชื่อว่า ระบบเงินสกุลเดียวกันเป็นหนึ่งในสาเหตุ แม้ภูมิภาคอาเซียนจะมีบริบทที่ต่างจากสหภาพยุโรปตั้งแต่รูปแบบการรวมตัว จนถึงความลึกและลักษณะแวดล้อมต่างๆ แต่ก็ได้เรียนรู้จากบทเรียนดังกล่าวและพร้อมปรับใช้กับ AEC ดัง จะเห็นถึงแนวทางชัดเจนว่าเราจะไม่ใช้เงินสกุลเดียวร่วมกันแบบเงินยูโรในอนาคตอันใกล้นี้แน่นอน ส่วนแนวทางการรวมตัวนั้น สภาพยุโรปมีลักษณะค่อนข้างบังคับ ในขณะที่อาเซียนอาศัยความร่วมมือเป็นหลัก ผลที่ตามมาก็คือ ความรวดเร็วในการดำเนินการที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ สหภาพยุโรปมีเจตนาของการก่อตั้งองค์กรในรูปแบบองค์กรระหว่างประเทศเหนือรัฐมาตั้งแต่เริ่มแรก กล่าวคือมี Supra-National Authority ที่มีอำนาจในการตัดสินใจแทนรัฐสมาชิกภายในขอบอำนาจและมีผลผูกพันรัฐสมาชิก ซึ่งส่งผลให้เกิดความเป็นเอกภาพระหว่างรัฐสมาชิกด้วยกันและสามารถขับเคลื่อนองค์กรไปได้อย่างสะดวก ขณะที่โครงสร้างการทำงานของอาเซียน…