ประเทศไทยมีปัญหาขาดแคลนแรงงานมากที่สุดในประชาคมอาเซียน

ปัญหาการขาดคนในภาคการผลิตของไทย จะรุนแรงกว่าประเทศอื่นในอาเซียนถึง 3 เท่า ตัวเลขนี้เป็นผลสำรวจของธนาคารโลก ที่ทำการเก็บข้อมูลของธุรกิจในประเทศต่างๆ ทั่วโลกจำนวน 130,000 แห่ง จาก 135 ประเทศ ซึ่งรวมไปถึงประเทศในอาเซียน 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ลาว กัมพูชา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย หนึ่งในประเด็นที่ทำการสำรวจ คือ ร้อยละของธุรกิจที่ประสบกับการขาดแคลนแรงงานที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ จนกลายเป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจ ผลสำรวจของธุรกิจที่อยู่ในภาคการผลิต พบว่า ธุรกิจในประเทศไทยประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมากเป็นอันดับ…

พัฒนาทักษะ ‘ภาษาอังกฤษ’ สู่อาเซียนเพิ่มโอกาสสร้างงาน สร้างอาชีพ

เป็นที่ทราบกันดีว่าในปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) โดยใน กฎบัตรอาเซียนมาตราที่ 34 ระบุให้ใช้ภาษาทำงานของอาเซียน คือภาษาอังกฤษ (The working language of ASEAN shall be English) ซึ่งหมายความว่าประชาชนใน 10 ประเทศอาเซียนจะต้องใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้นนอกเหนือจากการใช้ภาษาประจำชาติหรือภาษาประจำท้องถิ่นของตนเอง ซึ่ง ณ วันนี้หากเราจะเริ่มต้นพัฒนาทักษะหรือฝึกฝนภาษาอังกฤษเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับตนเองในการแสวงหาโอกาสที่ดี การก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนหลายคนมักเข้าใจว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเทศเท่านั้นที่จะต้องสื่อสารกันหรือเฉพาะนักธุรกิจ ผู้ค้าขายระหว่างประเทศเท่านั้นที่จะต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและการติดต่อธุรกิจ แต่ความจริงแล้วเมื่อถึงเวลานั้นทุกคนที่อยู่ในอาเซียนก็จะต้องเดินทางไปท่องเที่ยวเพื่อทำความรู้จักคุ้นเคยกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน หรือไม่บางคนอาจจะต้องเดินทางข้ามพรมแดนเพื่อออกไปหางานทาหรือแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าให้กับชีวิต…

ประเทศไทย ความพร้อมด้านกฎหมาย สู่ประชาคมอาเซียน

เมื่อมีการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ซึ่งประกอบไปด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community-APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) ใน ปี 2558 แล้วทางด้านเศรษฐกิจจะมีการเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน การเคลื่อนย้ายเงินทุนในอาเซียน ทำได้เสรียิ่งขึ้น นักวิชาชีพ ผู้มีความสามารถพิเศษ แรงงานฝีมือ…

AEC กับการเปิดเสรีด้านการลงทุน

การเปิดเสรีด้านการลงทุนเป็นประเด็นที่มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นตามลำดับสำหรับการเจรจาทำความตกลงรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจไม่ว่าจะในระดับใด (พหุภาคี ภูมิภาค ทวิภาคี) รวมทั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยนัยสำคัญและความเข้มข้นของประเด็นเจรจาในด้านการลงทุนก็จะมีความแตกต่างกันไปตามคู่ภาคีที่เข้าร่วมอยู่ในการเจรจา สำหรับประเทศไทย การเจรจาเปิดเสรีด้านการลงทุนมักจะเป็นไปในลักษณะของการตั้งรับเสียเป็นส่วนใหญ่ เพราะมองว่าการเปิดเสรีทางด้านการลงทุนจะเป็นการเปิดโอกาสให้ธุรกิจต่างชาติเข้ามาลงทุนและแข่งขันกับธุรกิจภายในประเทศได้ และด้วยธุรกิจต่างชาติที่มีทุนขนาดใหญ่ (โดยเปรียบเทียบ) และมีความได้เปรียบในด้านอื่นๆอีกมาก ก็เลยเกรงว่า การเปิดเสรีด้านการลงทุนนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศคู่ภาคีในความตกลงและอาจก่อให้เกิดปัญหาที่รุนแรงต่อธุรกิจภายในประเทศได้ โดยลืมนึกถึงประโยชน์ทางด้านอื่นๆที่จะได้รับจากการลงทุนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อผู้บริโภค การจ้างงาน และการพัฒนาคุณภาพของแรงงานและประสิทธิภาพการผลิต ในขณะเดียวกัน ก็หันไปพึ่งพาเครื่องมืออื่นๆเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ได้แก่ มาตรการในการส่งเสริมการลงทุนต่างๆ ซึ่งก็จะใช้วิธี"ยกเว้น"หรือ "ละเว้น" กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่มีการกำหนดไว้ให้กับการลงทุนที่สามารถเข้าถึงกระบวนการของการส่งเสริมการลงทุน ประเด็นการเปิดเสรีด้านการลงทุนมีมุมมองที่แตกต่างภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่ประเทศไทยมองว่า…

แรงงานไทย พร้อมเข้า AEC ?

ในปี 2558 ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศคือ ไทย พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์กัมพูชา และบรูไน จะก้าวเข้าสู่ "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน"  การดําเนินการต่างๆ จะเป็นไปตามความเห็นชอบร่วมกันของประเทศสมาชิก คือ จะมีตลาดและฐานการผลิตสินค้าร่วมกัน มีการเคลื่อนย้ายสินค้าบริการ การลงทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรีโดยแรงงานจะถูกจัดเป็นกลุ่มสําคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของอาเซียน โดยอาชีพที่มีข้อตกลงร่วมกันว่าจะมีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีมีอยู่ 8 อาชีพ ได้แก่ วิศวกร พยาบาล สถาปนิก การสํารวจ…

ข้อมูลประเทศกัมพูชา เพื่อใช้วิเคราะห์ AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

อาเซียน กัมพูชาเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 ชื่อเต็ม ประเทศกัมพูชามีชื่อเรียกเต็มว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) ที่ตั้ง ตั้งอยู่กลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเขตติดต่อกับอ่าวไทย ตั้งอยู่ระหว่างประเทศไทย เวียตนาม และลาว พื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีขนาดพื้นที่เป็นอันดับที่ 90 ของโลก ประเทศกัมพูชามีพื้นที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 8…

ข้อมูลประเทศมาเลเซีย เพื่อใช้วิเคราะห์ AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

จุดแข็ง - อุตสาหกรรม ปาล์มน้ำมัน อุตสาหกรรม Bio-diesel เป็นอุตสาหกรรมที่มีระดับการผลิต เพื่อการส่งออก ที่สูง จนทำให้คลังสำรองปาล์มน้ำมันมีจำนวน ลดลง เนื่องจากปริมาณ ความต้องการสูงกว่ากำลังการผลิต และยังมีการส่งเสริมด้านวิจัยและพัฒนาตัวสินค้าให้เกิดความหลากหลาย เช่น การผลิตน้ำมันปาล์มชนิดผง เป็นต้น - อุตสาหกรรมเกี่ยวกับเทคโนยีในรูปแบบต่างๆ ที่มีส่วนในการปรับปรุงและยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งมี platform ที่สำคัญ คือ Cyber jaya - การยกระดับของมาเลเซีย ในการเป็นศูนย์กลางด้านฮาลาลของโลก และ…

ข้อมูลประเทศเวียดนามเพื่อใช้วิเคราะห์ AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

 จุดแข็ง - การเมืองมีเสถียรภาพ นโยบายต่างๆ ได้รับการสานต่ออย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งเสริมและการลงทุนจากต่างประเทศ ยิ่งไปกว่านั้นรัฐ บาลยังรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน และนำไปปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมขึ้นอยู่เสมอๆ และหากกฎหมายใหม่ทำให้นักลงทุนได้สิทธิประโยชน์ที่ลดลงจากที่เคยได้รับแล้ว นักลงทุนยังสามารถที่จะเลือกใช้สิทธิประโยชน์ตามกฎหมายเดิมได้ - ประชากร มีคุณภาพและกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ค่าจ้างแรงงาน ต่ำและประชากรที่อยู่ในวัยทำงานสูงถึงร้อยละ 54 ของจำนวน ประชากรทั้งหมด - มีทรัพยากรธรรมชาติมาก ชายฝั่งทะเลระยะทางยาวถึง 3,260 กิโลเมตร อุดมไปด้วยอาหาร ทะเลน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ - นักลงทุนจะได้รับยกเว้นภาษีเป็นเวลา…

ข้อมูลประเทศอินโดนีเซียเพื่อใช้วิเคราะห์ AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

การวิเคราะห์ในภาพรวมถึงศักยภาพด้านการลงทุนของอินโดนีเซียในจุดแข็ง/จุดอ่อน/โอกาส/อุปสรรคในการลงทุน มีข้อสรุปดังนี้ 1) จุดแข็ง -  เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอาเซียนด้วยกัน โดยมีประชากร มากถึง 240 ล้านคน หรือเกือบร้อยละ 50 ของประชากรทั้งหมดในอาเซียนที่มีประชากรรวม 560 ล้านคน -  มีท่าเรือขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วไปและการขนส่ง สินค้าทางเรือใช้เวลา 5-7 วัน จากประเทศไทย 2) จุดอ่อน -  การให้สิทธิประโยชน์ในการลงทุนของอินโดนีเซียยังค่อนข้างน้อย -  ประเทศอินโดนีเซียมีห้องเย็นเพื่อเก็บรักษาสินค้ามีจำนวน น้อยและคุณภาพไม่ดีมากนัก ทำให้สินค้าเกิดความเสียหายได้โดยเฉพาะสินค้าประเภท ผักและผลไม้…

ข้อมูลประเทศบรูไน เพื่อใช้วิเคราะห์ AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

จุดแข็ง - บรูไนเป็นประเทศที่มีกำลังซื้อสูง และมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการเติบโตของภาคที่มิใช่น้ำมัน โดยเฉพาะภาคการค้าปลีกและการค้าส่ง การก่อสร้าง และการขนส่ง คมนาคมจะเป็นตัวส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไป และรัฐ บาลพยายามที่จะผลักดันให้มีโครงการต่างๆ เกิดขึ้น - รัฐบาลบรูไนส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมั่นคง โดยเฉพาะตามแผนพัฒนาฉบับที่ 8 เน้นการเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม - ประเทศบรูไนให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนในด้านการลดอัตราภาษีนำเข้า เหลือร้อยละ 0-5 จุดอ่อน - ขั้นตอนและกระบวนการสั่งซื้อและขนส่งสินค้าของบรูไนมีความไม่คล่องตัวโดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ที่มีชาวสิงคโปร์ร่วมลงทุนอยู่ด้วย การนำเข้ามักจะขึ้นอยู่กับนักธุรกิจสิงคโปร์ ซึ่งต้องมีการขนส่งผ่านทางสิงคโปร์ก่อน - ข้อจำกัดทางการค้าที่เคร่งครัดมาก เกี่ยวกับการกำหนดข้อบังคับในการนำเข้าสินค้าประเภท…