ข้อมูลประเทศไทยเพื่อใช้วิเคราะห์ใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่เน้นการทำเกษตรกรรม และมีสินค้าเกษตรมากพอที่จะทำการส่งออกไปยัง AEC โดยมีการส่งออกสินค้าจำพวก ยางพารา, น้ำตาลทราย, ข้าว เป็นจำนวนมาก และยังมีสินค้าประเภทอุตสาหกรรรมที่ส่งออกเป็นอันดับต้นๆของอาเซียนด้วยเช่น อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์และส่วนประกอบ จุดแข็ง -ไทยเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมหลายด้าน เช่น ยานยนต และอิเล็กทรอนิกส์ หากมีการลงทุนหรือวิจัยก็อาจจะต่อยอดจากประเทศไทยที่มีโรงงานผลิตตั้งอยู่แล้ว -สถาบันการเงินของไทยมีความมั่นคง นักลงทุนสามารถระดมทุนจากสถาบันการเงินของไทยได้อย่างมั่นใจ และรัฐบาลมีแนวโน้มในการเปิดเสรีภาคการเงินอีกด้วย -เนื่องจากไทยตั้งอยู่ตรงกลางของ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทำให้มีความได้เปรียบในเรื่องศูนย์กลางต่างๆเช่น การคมนาคมทางบก, การคมนาคมทางอากาศ, การค้า, การลงทุน หรือแม้กระทั้งศูนย์แสดงสินค้า…

การจัดการข้ามวัฒนธรรมใน AEC

ความแตกต่างในด้านแนวคิดเกี่ยวกับการเมืองการปกครองย่อมส่งผลต่อแนวคิดและนโยบายต่างๆ เกี่ยวกับการค้าและการลงทุนที่อาจจะแตกต่างกัน ทำให้ตกลงกันได้ไม่ง่ายนัก ในด้านศาสนาและภาษาก็มีความแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ และอื่นๆและภาษาของชาติต่างๆ ก็มีความแตกต่างหลากหลายแต่ภาษากลางของอาเซียนคือ ภาษาอังกฤษ ซึ่งประเทศที่มีความได้เปรียบในด้านการใช้ภาษาอังกฤษคือ มาเลเซีย สิงคโปร์และฟิลิปปินส์ส่วนประเทศเวียดนามและกัมพูชานั้นก็พัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างรวดเร็ว มีการเปิดโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษมากมายและคนเวียดนามและกัมพูชาก็ลงทุนไปกับการเรียนภาษาอังกฤษและขยันพัฒนาทักษะของตนเองอย่างต่อเนื่องเพราะรู้ว่าโอกาสที่จะได้งานดี เงินเดือนสูงขึ้นอยู่กับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ส่วนประเทศไทยดูเหมือนจะยังขยับตัวช้ากว่าคนอื่น โดยในภาพรวมทักษะภาษาอังกฤษของคนไทยยังต้องพัฒนาอีกมากเพื่อให้ทัดเทียมกับเพื่อนบ้าน ในการจัดการข้ามวัฒนธรรมให้ประสบความสำเร็จนั้น สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่นอกเหนือไปจากภาษาที่ใช้ติดต่อกันก็คือความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมของคนชาติอื่น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการพิจารณากลยุทธ์ในการเจรจาต่อรองและการดำเนินธุรกิจร่วมกันหรือระหว่างกัน สิ่งที่พึงระมัดระวังอย่างยิ่งคือ ต้องไม่มองทุกสิ่งทุกอย่างจากมุมมองของตนเองแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่พร้อมที่จะเปิดใจรับฟังข้อมูลและความคิดเห็นจากอีกฝ่ายหนึ่งและใช้เวลาพยายามทำความเข้าใจระหว่างกัน นอกจากนี้ ยังต้องสะสมประสบการณ์ในการติดต่อกับผู้คนจากหลายชาติหลายภาษาและหลากหลายสาขาอาชีพ เพราะวิธีการที่ใช้ได้ผลในประเทศหนึ่งๆ หรือกับคนชาติหนึ่ง อาจจะใช้ไม่ได้ผลอย่างเดียวกันเมื่อนำไปปฏิบัติในอีกที่หนึ่งก็เป็นได้ทั้งๆ ที่เราอาจจะมองว่าทุกอย่างดูคล้ายคลึงกันน่าจะใช้กลยุทธ์หรือวิธีการเหมือนๆ กันได้. แต่อาจเกิดความผิดพลาดขึ้นอย่างชนิดที่คาดไม่ถึง…

วิชาชีพท่องเที่ยว กับ AEC

การเตรียมความพร้อมในการพัฒนาบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยว เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)ประเทศไทย ในฐานะผู้ประสานงาน (Country Coordinator) สาขาการท่องเที่ยว โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจดำเนินการตามพันธะข้อตกลงระหว่างประเทศและแผนการรวมกลุ่มเศรษฐกิจสาขาการท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศอาเซียน ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ได้จัดทำข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Mutual Recognition arrangement on Tourism Professionals : ASEAN MRA-TP) เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายผู้ประกอบวิชาชีพการท่องเที่ยวในอาเซียนและแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด ข้อตกลงนี้จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรวิชาชีพของไทยในการเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีคณะกรรมการวิชาชีพท่องเที่ยวแห่งชาติและคณะกรรมการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพท่องเที่ยวทำหน้าที่กำกับว่าผู้นั้นได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในมาตรฐานสมรรถนะร่วมสำหรับนักวิชาชีพการท่องเที่ยวอาเซียน ทั้งนี้ สิทธิในการประกอบวิชาชีพในประเทศผู้รับจะอยู่ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายและข้อบังคับของประเทศผู้รับ โดยกำหนดหลักสูตรการท่องเที่ยวแห่งอาเซียนสำหรับ 2 สาขา 6 แผนก…

ธุรกิจสปาไทยเตรียมรับ AEC เน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

แม้ว่า สปาไทย จะเป็นที่ต้องการของตลาดโลก และอยู่ในระดับผู้นำของโลกด้านธุรกิจดังกล่าว เนื่องจากสปาไทยมีจุดเด่นในด้านคุณภาพ มาตรฐาน บุคลากรผลิตภัณฑ์ การออกแบบดีไซน์ รวมถึงการบริหารจัดการด้วยเป็นศาสตร์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ มีความโดดเด่นในความเป็นไทยที่ไม่เหมือนใคร แต่ถึงกระนั้นธุรกิจนี้ ก็ยังต้องพัฒนาในทุกๆด้านให้มีความพร้อมมากขึ้น เพื่อรองรับตลาดที่จะเติบโตขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือAEC ในปี 2558 ที่จะต้องแข่งขันกันภายในตลาดอย่างเสรีเมื่อมีการเปิดAECขึ้นอย่างเป็นทางการ นางภัททิราพร เขียวสนั่น อุปนายกสมาคมสปาไทย กล่าวว่า ธุรกิจสปาไทยมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ปี โดยเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 5-6% สร้างรายได้เฉลี่ยประมาณ 15,000-16,000 ล้านบาทต่อปี กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ที่ใช้บริการเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ…

ASEAN Single Window ระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน

อาเซียนอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว (ASEAN Single Window: ASW) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการอานวยความสะดวกทำงการค้าและการเคลื่อนย้ายสินค้า โ ดยการเชื่อมโยงระบบข้อมูลแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐและผู้ใช้ อาทิ ผู้ประกอบธุรกรรมทำงเศรษฐกิจ และผู้ให้บริการด้านขนส่งและโลจิสติกส์ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ใช้ความพยายามอย่างมากในการพัฒนา ASW โดยการวางรากฐานเพื่อทำงให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างระบบการปฏิบัติงาน และระหว่างระบบข้อมูลสารสนเทศ (inter-operability และ inter-connectivity) ปัจจุบัน บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ได้เริ่มดำเนินงาน National Single Window…

สปป.ลาว น้องใหม่ WTO ลำดับที่ 158 หนุนโอกาสไทยเชื่อม สปป.ลาว สู่สากล

ประเด็นสำคัญ •    สปป.ลาว เป็นประเทศล่าสุดใน ASEAN ที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก WTO อย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556 นี้ ช่วยขยายโอกาสทางการค้าและดึงดูดต่างชาติเข้ามาลงทุนใน สปป.ลาว เพิ่มขึ้น ขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตสดใสไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8 อย่างต่อเนื่อง •    ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การเป็นสมาชิก WTO เต็มตัวของ สปป.ลาว อาจไม่เห็นผลการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนัก แต่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างกฎระเบียบ ให้เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ ซึ่งธุรกิจไทยจะได้อานิสงส์เติบโตควบคู่ไปกับการค้าและการลงทุนที่เข้าสู่ สปป.ลาว…

ข้อมูลประเทศพม่า เพื่อใช้วิเคราะห์ AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

จุดแข็ง - ประเทศพม่ามีทรัพยากรจำนวนมากและมีคุณภาพ เช่น แร่ โลหะ อัญมณี ทรัพยากรทางทะเล ไม้เนื้อแข็งและไม้สัก ส่งผลให้พม่ามีความได้เปรียบด้านปัจจัย การผลิต - สภาพภูมิประเทศ และอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเกษตรกรรม หากได้รับการพัฒนาที่ดีจะสามารถให้ผลผลิตต่อพื้นที่ ในปริมาณ ที่สูง - พม่ามีที่ตั้ง ทางภูมิศาสตร์ที่สามารถเชื่อมโยงการขนส่ง กับต่างประเทศได้สะดวก - แรงงาน ภายในประเทศมีค่าจ้างแรงงานต่ำเหมาะสำหรับการลงทุนอุตสาหกรรม ที่เน้นการใช้แรงงาน จุดอ่อน - พม่ามีมาตรการกีดกันทางการค้า เช่น การจำกัดการนำเข้า…

เปิดข้อกีดกันการค้าของประเทศในอาเซียน แข่งงัดมาตรการรับ AEC ปี 2558

ยิ่งเข้าใกล้ปี 2558 ซึ่งเป็นปีที่สมาชิกตกลงเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในด้านสินค้าต้องเคลื่อนไหวอย่างเสรีและไม่มีภาษี แต่สมาชิกพยายามหามาตรการ สร้างกำแพงออกมาขวางกั้นเพื่อปกป้อง ผู้ผลิตภายในประเทศ นางพิรมล เจริญเผ่า อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า หลายประเทศในอาเซียนนำมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTMs) มาใช้เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในของตัวเอง ซึ่งที่ประชุมอาเซียนกำหนดให้สมาชิกนำมาตรการดังกล่าว ขึ้นเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ เพื่อให้สมาชิกรับทราบโดยทั่วกัน มาตรการที่สมาชิกอาเซียนนำมาใช้ โดยในส่วนของกัมพูชา กลุ่มสินค้าและบริการทั่วไป กำหนดให้ผู้นำเข้าต้องได้รับความเห็นชอบก่อนนำเข้าสินค้าเกษตรในแต่ละครั้ง จากกรม CAMCONTROL มาตรการด้านสุขอนามัย กำหนดให้ต้องมีใบรับรองมาตรฐานสินค้าโดยการขึ้นทะเบียนทดสอบมาตรฐานของสินค้า มีใบรับรองปลอดศัตรูพืช และกักกันสุ่มตรวจ ณ ด่านนำเข้า สำหรับสินค้าเนื้อสัตว์…

ข้อมูลรายได้ต่อหัว,สัดส่วนอายุ,โครงสร้างประชากรใน AEC

ข้อมูลเรื่องโครงสร้างประชากร, รายได้ต่อหัว, อายุ ของคนใน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในการวางแผนการตลาดแลการลงทุน ประชากรใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีประชากร รวมกันกว่า 600 ล้านคน หรือคิดเป็น 10% ของประชากรทั้งโลก โดยประเทศใน AEC ที่มีประชากรมากสุดคือ อินโดนีเซีย มีประชากร 245 ล้านคน รองลงมา คือ ฟิลปิ ปินส์ 101 ล้านคน เวียดนาม…