ข้อมูลรายได้ต่อหัว,สัดส่วนอายุ,โครงสร้างประชากรใน AEC

ข้อมูลเรื่องโครงสร้างประชากร, รายได้ต่อหัว, อายุ ของคนใน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในการวางแผนการตลาดแลการลงทุน

ประชากรใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีประชากร รวมกันกว่า 600 ล้านคน หรือคิดเป็น 10% ของประชากรทั้งโลก โดยประเทศใน AEC ที่มีประชากรมากสุดคือ

อินโดนีเซีย มีประชากร 245 ล้านคน

รองลงมา คือ ฟิลปิ ปินส์ 101 ล้านคน

เวียดนาม 90 ล้านคน

ไทย 66 ล้านคน

พม่า 53 ล้านคน

มาเลเซีย 28 ล้านคน

กัมพูชา 14 ล้านคน

สปป.ลาว 6 ล้านคน

สิงคโปร์ 5 ล้านคน

บรูไน 0.4 ล้านคน

โครงสร้างอายุและประชากรของประเทศสมาชิกอาเซียน

สมาชิกอาเซียนโดยรวม มีความคล้ายคลึงกัน โดยประชากรส่วนใหญ่ ในแต่ละประเทศอยู่ในวัยหนุ่มสาวและวัยทํางาน (มีอายุระหว่าง 15-64 ปี) ทั้งประชากรวัยทำงานมีสัดส่วนราว ร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมดในอาเซียน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มีนัยสำคัญต่อการส่งออกอย่างมีนัยสำคัญของผู้ประกอบการไทย

วิธีการทำอาชีพอิสระ

กล่าวคือประชากรวัยทํางานเป็นกลุ่มผู้บริโ ภค ที่มีกำลังซื้อสูงและพร้อมทดลองสินค้าใหม่ๆ อีกทั้งยังเป็นกลุ่มที่ตอบสนองกลยุทธ์ทางการตลาดได้เป็นอย่างดี สินค้าที่น่าสนใจที่ทำตลาดใน AEC เช่น สินค้าในหมวดยานยนต์ คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และผลิตภณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งสินค้าที่มีความแปลกใหม่และดึงดูดให้มีการทดลองใช้

รายได้ประชากรต่อคนต่อปี ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญมากเช่นกัน เพราะบ่งบอกถึงกำลังซื้อในประเทศนั้น

สิงคโปร์และบรูไนจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง สะท้อนถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคในระดับสูง ทําให้ผู้บริโตคส่วนใหญ่ของประเทศทั้งสอง นิยมบริโภคสินค้าที่มีตราสินค้าจากต่างประเทศ รวมทั้งสินค้าที่อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน โดยคำนึงถึง คุณภาพและความทันสมัยของสินค้าเป็นสำคัญ

ขณะที่มาเลเซียจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูง ผู้บริโภคชาวมาเลยส่วนใหญ่อยู่ในวัยทาน จะให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอันดับแรกสะท้อนได้จากการใช้จ่ายซื้อสินค้าดังกล่าวในระดับสูง เมื่อเทียบกับรายจ่ายด้านอื่นๆนอกจากอาหารสำเร็จรูปและอาหารพร้อมรับประทานยังได้รับความนิยมมากขึ้นตามวิถีชาวมาเล ที่เร่งรีบขึ้น

สําหรับอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และ สปป.ลาว จัดอยู่ในกลุ่ม ประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-ต่ำ ขณะที่กัมพูชา และพม่า จัดอยู่ในประเทศที่มีรายน้อย ทำให้ผู้บริโภคในประเทศเหล่านี้กำลังซื้อไม่สูง จึงไม่นิยมบริโภคสินค้านำเข้าที่มีราคาสูง โดยสินค้าที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน

สำหรับประเทศที่มีสัดส่วนการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคสูงสุดเมื่อเทียบกับ GDP ได้แก่ ฟิลิปปินส์ (74% ของ GDP) เวียดนาม (67%) อินโดนีเซีย (59%) ไทย (55%) มาเลเซีย(50%) และสิงคโปร์ (41%) ส่วนตลาดการท่องเที่ยวนั้น พบว่าประเทศที่มีนักท่องเที่ยวไปเยือนมากที่สุด ได้แก่ มาเลเซีย (22 ล้านคน) ไทย (14 ล้านคน) สิงคโปร์ (7 ล้านคน)อินโดนีเซีย (6 ล้านคน) และเวียดนาม (4 ล้านคน) และเมื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่ เอื้อต่อการลงทุน พบว่าคุณภาพของคนในประเทศอาเซียน สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่สิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย ไทย และฟิลิปปินส์ ตามลำดับ

ด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจในประเทศกลุ่มอาเซียน ได้แก่

1) ประเทศที่ ประชากรมีการใช้คอมพิวเตอร์สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สิงคโปร์มาเลเซีย บรูไน เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ตามลำดับ

2) ประเทศที่มีสัดส่วนต้นทุนการจัดตั้งธุรกิจต่ำสุดเมื่อเทียบกับรายได้ต่อบุคคล (GNI Per capita) ได้แก่ สิงคโปร์ (0.7%) ไทย (6.3%) บรูไน (9.8%) มาเลเซีย(11.9%) และลาว (12.3%) ตามล าดับ

3) ประเทศที่ใช้เวลาจัดตั้งธุรกิจน้อยที่สุด ได้แก่ สิงคโปร์ (3 วัน) มาเลเซีย (11 วัน) ไทย (32 วัน) เวียดนาม (50 วัน) และฟิลิปปินส์ (52 วัน)

4) ประเทศที่ มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำสุดคือ สิงคโปร์ (5.4%) บรูไน (5.5%) มาเลเซีย (6.1%) ไทย(7.0%) และฟิลิปปินส์(8.8%)

แต่ไม่ว่าตัวเลขของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนทำธุรกิจในประเทศกลุ่มอาเซียนจะเป็นอย่างไร สิ่งหนึ่งที่SMEs ไทยจะต้องคำนึงถึงก็คือ ความพร้อมและความได้เปรียบเชิงโครงสร้าง โดยสาขาที่ ไทยมีความพร้อมและมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง ได้แก่ สาขาผลิตภัณฑ์อาหารยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงสาขาบริการ เช่น การท่องเที่ยว บริการสุขภาพเทคโนโลยีสารสนเทศและแรงงานที่มีฝีมือแต่แรงงานฝีมือก็อาจมีการเคลื่อนย้ายไปสิงคโปร์ มาเลเซีย เพราะให้ค่าตอบแทนสูงกว่า ส่วนสินค้าไทยที่ ต้องปรับตัวในแง่ ของการเพิ่มประสิทธิภาพ โดยเน้นการแข่งขันด้านคุณภาพมากขึ้น เช่นข้าวโพด ยางพารา ผลไม้แช่แข็ง มันสำปะหลัง อาหารสัตว์เลี้ยง เฟอร์นิเจอร์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ และผ้าผืน เป็นต้น

โดยเฉพาะกลุ่ม CLMV ซึ่งประกอบด้วย กัมพูชา สปป.ลาว พม่า และเวียดนาม เป็นตลาดส่งออก ที่ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ เนื่องจากเป็นตลาดที่ค่อนข้างใหม่และการแข่งขันยังไม่รุนแรงมาก โดยควรวางกลยุทธ์การเจาะตลาดด้วยการส่งออกสินค้าที่มีราคาไม่สูงนัก ประกอบกับ ผู้บริโภคในประเทศดังกล่าวนิยมบริโภคสินค้านําเข้าจากประเทศไทย เนื่องจากมองว่าเป็นสินค้าค่าที่มีคุณภาพและราคไม่สูงมาก

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยสามารถอาศัยความได้เปรีบจากความเชียวชาญในการผลิต สินค้า หลากหลายประเภท และสร้างโอกาสในการส่งออกสินค้าไปตลาด AEC โดยเฉพาะกลุ่ม CLMV โดยใช้ประโยชน์จากการเป็นตลาดเดียว โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าไทยที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงเช่น เช่น อาหาร สินค้าเกษตรแปรรูป ชิ้นส่วนยานยนต์ และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์