ยิ่งเข้าใกล้ปี 2558 ซึ่งเป็นปีที่สมาชิกตกลงเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในด้านสินค้าต้องเคลื่อนไหวอย่างเสรีและไม่มีภาษี แต่สมาชิกพยายามหามาตรการ สร้างกำแพงออกมาขวางกั้นเพื่อปกป้อง ผู้ผลิตภายในประเทศ
นางพิรมล เจริญเผ่า อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า หลายประเทศในอาเซียนนำมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTMs) มาใช้เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในของตัวเอง ซึ่งที่ประชุมอาเซียนกำหนดให้สมาชิกนำมาตรการดังกล่าว ขึ้นเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ เพื่อให้สมาชิกรับทราบโดยทั่วกัน มาตรการที่สมาชิกอาเซียนนำมาใช้ โดยในส่วนของกัมพูชา กลุ่มสินค้าและบริการทั่วไป กำหนดให้ผู้นำเข้าต้องได้รับความเห็นชอบก่อนนำเข้าสินค้าเกษตรในแต่ละครั้ง จากกรม CAMCONTROL
มาตรการด้านสุขอนามัย กำหนดให้ต้องมีใบรับรองมาตรฐานสินค้าโดยการขึ้นทะเบียนทดสอบมาตรฐานของสินค้า มีใบรับรองปลอดศัตรูพืช และกักกันสุ่มตรวจ ณ ด่านนำเข้า สำหรับสินค้าเนื้อสัตว์ ต้องมีใบรับรองสุขอนามัย และต้องมีสลากระบุรายละเอียดอาหารเป็นภาษากัมพูชา
ส่วนประเทศอินโดนีเซีย ในสินค้าข้าวหอมมะลิ (Special Rice) ต้องมีวัตถุประสงค์พิเศษในการนำเข้า เช่น นำเข้าเพื่อสุขภาพ การบริโภคพิเศษเฉพาะกลุ่มและผู้นำเข้าจะต้องจดทะเบียนเป็นผู้นำเข้าพร้อมขอการรับรองจากกระทรวงเกษตรของอินโดนีเซียก่อนและขออนุญาตจากกระทรวงการค้าของอินโดนีเซียในแต่ละ shipment
ทั้งนี้ การขอรับคาร้องการนำเข้าใช้เวลาในการยื่นขอนานมาก ตั้งแต่ 6 เดือน – 1 ปี และตั้งแต่ ปี 2554 กระทรวงเกษตรของอินโดนีเซียกำหนดเงื่อนไขการนำเข้าให้ผู้นำเข้า สามารถจำหน่ายข้าวหอมมะลิได้เฉพาะในภัตตาคาร และโรงแรมเท่านั้น และมักจะจัดสรรนำเข้าน้อยกว่าปริมาณนำเข้าจริง 30-50% ตั้งแต่ปี 2552 ผู้นำเข้าไม่เคยได้รับ คารับรองในการนำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทยเลย ขณะที่สินค้าสัตว์น้ำสดและแปรรูป ผู้นำเข้าสัตว์น้ำจะต้องเป็นผู้นำเข้า และต้องได้รับการรับรองนำเข้าจากกระทรวงประมง และในทางปฎิบัติหากสัตว์น้ำนั้น มีอยู่ในน่านน้ำ อินโดนีเซีย ก็จะไม่สามารถพิจารณาออกคารับรองในการนำเข้า ที่ผ่านมาเคยกักกันและยึดสินค้าสัตว์น้ำสดและแปรรูปจากไทย ที่ท่าเรือ Tanjung Priok เมื่อเดือน มี.ค. 2554 สินค้าผัก ผลไม้ มาตรการกำหนดให้ ผักและผลไม้จำนวน 100 รายการ ต้องควบคุมความปลอดภัยของอาหารสด ที่มาจากพืชต้องปลอดสารเคมี การปนเปื้อนทางชีววิทยาและหรือการปนเปื้อนจากสารเคมีต้องห้าม ต้องนำเข้าจากประเทศที่มีระบบการรับรองความปลอดภัยด้านอาหาร หรือการรับรองความปลอดภัยของอาหาร ณ แหล่งผลิต
ผลกระทบที่เกิดกับไทย โดยสินค้า ผักและผลไม้ ที่มีระบบการรับรองความปลอดภัยของสินค้าเกษตร (MRA) จะต้องมีการจดทะเบียนฟาร์มเพาะปลูก (GAP) และโรงคัดแยกบรรจุ (GHP) ซึ่งปัจจุบันกรมวิชาการเกษตร ได้ยื่นคาขอ MRA 5 รายการ ได้แก่ ทุเรียน ลาไย มะม่วง ลิ้นจี่ และหอมแดงซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาคาขอจากไทย และอาจใช้เวลา 1-3 ปี จึงจะรับรองระบบความปลอดภัยของไทย ปัจจุบัน ผักและผลไม้ของไทย ต้องถูกตรวจสารเคมีตกค้าง 100% เนื่องจากไทยยังไม่ได้รับการรับรองความปลอดภัยของสินค้าเกษตรจากอินโดนีเซีย
นอกจากนี้ยังกำหนดต้องนำเข้าจากแหล่งเพาะปลูกที่ปลอดภัย จากการแพร่เชื่อของแมลงวันผลไม้ และศัตรูพืช และมีใบรับรองปลอดโรคพืชที่ปลอดจากแมลงวันผลไม้
ขณะที่ผักและผลไม้สดนำเข้าได้ 4 จุด คือ ท่าเรือ 3 แห่ง และสนามบิน 1 แห่ง จากเดิม ให้ 8 แห่ง ส่งผลให้ผักและผลไม้ไทย เช่น ชมพู่ ฝรั่ง ส้ม ลิ้นจี่ มะม่วง มังคุด ขนุน มะละกอ กล้วย เงาะ พริก หอมแดง หอมหัวใหญ่ และกระเทียม ไม่สามารถนำเข้าท่าเรือจาร์กาตา ซึ่งเป็นท่าเรือหลักได้อีกต่อไป เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อโรคศัตรูพืชสูง
การตรวจสอบโรคศัตรูพืชที่ท่าเรือไม่มีประสิทธิภาพ เพราะท่าเรือ 3 แห่งที่อนุญาตขาดความพร้อมรองรับปริมาณ ตู้คอนเทนเนอร์จำนวนมากและปัญหาระบบโลจิสติกส์ที่ต้องใช้เวลาขนส่งเพิ่มขึ้นอีก 5-7 วัน ส่งผลให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้น 30% และบางสินค้าจัดสรรน้อยกว่าที่ขอ 30-50% ซึ่งสินค้าน้ำตาลที่ควรเปิดเสรี ก็ยังมีข้อจำกัดปริมาณการนำเข้าแต่ละปี โดยขึ้นอยู่กับความต้องการภายในประเทศและต้องเป็นผู้นำเข้าที่ได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้นขณะที่ผัก ผลไม้ออกมาบังคับใช้เมื่อกลางปี 2555 ที่ผ่านมานี้เอง
มาเลเซีย กำหนดมาตรการกีดกัน โดยสินค้าข้าว น้ำตาลทรายบริสุทธิ์ ปศุสัตว์มีชีวิต เนื้อสัตว์ เส้นหมี่ ต่างต้องขออนุญาตนำเข้าจากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น สินค้าข้าวสามารถห้ามนำเข้า ได้ในช่วงที่ผลผลิตในประเทศออกสู่ตลาดมากๆเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าวภายใน และสินค้าน้ำตาลนำเข้าได้เฉพาะใช้เพื่อเป็นวัตถุดิบ แต่ราคานำเข้าต้องต่ำกว่าราคา ที่รัฐบาลยังไม่ได้รับอุดหนุนจากรัฐบาล
ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ เครื่องใช้ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เหล็กแผ่นรีดร้อน ต้องผ่านมาตรากรความปลอดภัยจาก Energy Commission ของมาเลเซีย ส่วนสินค้ายา เวชภัณฑ์ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์พื้นบานต้องมีเครื่องหมาย Meditag TM สินค้าผลไม้ มะม่วง ผู้ส่งออกไทยต้องจดทะเบียน farm และPackaging house กับกระทรวงเกษตรของไทยและของมาเลเซีย ชมพู่ มีบริษัทมาเลเซียเพียงแห่งเดียวที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าได้
ในส่วนฟิลิปปินส์กำหนดให้สินค้า ไก่สดและไก่แช่แข็ง เนื้อวัวสดและแช่เย็น เนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ ต้องผ่านการตรวจรับรองโรงงานจากหน่วยงาน ของฟิลิปปินส์ และการนำเข้าต้องมีใบอนุญาต ซึ่งสินค้าไก่ไทยแม้จะได้รับการยกเว้นให้นำเข้าได้เมื่อ 14 ส.ค. 2555 ที่ผ่านมา แต่ฟิลิปปินส์ก็ยังไม่ออกหนังสืออนุญาตให้แต่อย่างใด
ส่วนสินค้าผัก ผลไม้ กำหนดห้ามนาผลไม้เขตร้อนเข้าประเทศป้องกันการแพร่ระบาดโรคแมลง ซึ่งกระทรวงเกษตรไทยกำลังนาวิธีอบไอน้ำเพื่อกำจัดแมลงวันผลไม้ ซึ่งอยู่ในขั้นการเจรจาให้ยอดรับกันได้ ส่วนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ยา เคมีภัณฑ์ กำหนดให้ต้องผ่านตรววจมาตรการนำเข้าโดยหน่วยงานฟิลิปปนิส์ ก่อนนำเข้าเวียดนามขออนุญาตทางไปรษณีย์
ในส่วนของเวียดนามในกลุ่มสินค้าเกษตรและอาหาร กำหนดให้ต้องขออนุญาตนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหาร ผู้นำเข้าจะต้องยื่นคาร้องขออนุญาตนำเข้าพร้อมเอกสาร ทั้งหมดทางไปรษณีย์เท่านั้น และจะแจ้งผลการพิจารณาทางไปรษณีย์เท่านั้น ซึ่งมาตรการลักษณะนี้จะเกิดความล่าช้ากระบวนการขออนุญาต แม้จะระบุว่าใช้เวลาไม่เกิน 10 วัน แต่ในทางปฎิบัตินานกว่านั้น และหากมีข้อสงสัยในเอกสารกระบวนการทั้งหมดจะต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ ขณะที่พม่าห้ามนำเข้าสินค้าอุปโภค บริโภค 8 รายการมีการห้ามนำเข้าจากไทย ได้แก่ สุรา เบียร์ บุหรี่ หมากฝรั่ง ขนมเค้ก ขนมเวเฟอร์ และสินค้าควบคุมการนำเข้าตามกฎหมายที่ใช้บังคับแล้ว อย่างไรก็ตาม พม่ามีพ.ร.บ.การนำเข้าและส่งออกใหม่ที่มีผลเมื่อ 7 ก.ย. 2555 และอยู่ระหว่างทบทวนมาตรการห้ามนำเข้าสินค้าดังกล่าว คาดว่าจะมีผลในปี 2556
พม่ากำหนดว่าต้องขอหนังสืออนุญาตนำเข้าทั้งหมด ซึ่งระยะเวลาในการขออนุญาตนำเข้าแตกต่างกันสำหรับผู้นำเข้าต่างชาติ ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 3-6 เดือนและ 2-3 วัน สำหรับผู้นำเข้าท้องถิ่น
ที่มา : ปราณี หมื่นแผงวารี (กรุงเทพธุรกิจ)