ข้อมูลประเทศพม่า เพื่อใช้วิเคราะห์ AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

จุดแข็ง
– ประเทศพม่ามีทรัพยากรจำนวนมากและมีคุณภาพ เช่น แร่ โลหะ อัญมณี ทรัพยากรทางทะเล ไม้เนื้อแข็งและไม้สัก ส่งผลให้พม่ามีความได้เปรียบด้านปัจจัย การผลิต
– สภาพภูมิประเทศ และอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเกษตรกรรม หากได้รับการพัฒนาที่ดีจะสามารถให้ผลผลิตต่อพื้นที่ ในปริมาณ ที่สูง
– พม่ามีที่ตั้ง ทางภูมิศาสตร์ที่สามารถเชื่อมโยงการขนส่ง กับต่างประเทศได้สะดวก
– แรงงาน ภายในประเทศมีค่าจ้างแรงงานต่ำเหมาะสำหรับการลงทุนอุตสาหกรรม ที่เน้นการใช้แรงงาน

วิธีการทำอาชีพอิสระ

จุดอ่อน
– พม่ามีมาตรการกีดกันทางการค้า เช่น การจำกัดการนำเข้า เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้า
– ระบบการคมนาคม และสาธารณูปโภคยังไม่มีประสิทธิภาพและขาดแคลน ทำให้การติดต่อสื่อสารและการคมนาคมเป็นไปอย่างล่าช้า
– แรงงานในประเทศยังไร้ฝีมือ ถูกจำกัดด้วยระเบียบทางการค้า ถูกคว่ำบาตรด้านการค้า
– ระบบราชการพม่ามีการคอรัปชันสูง
– ประชากร จำนวนมาก แต่ยังมีกำลังซื้อต่ำ

โอกาส
– นโยบายภาครัฐ ที่มีการส่งเสริมการลงทุน ในสาขาผลิตต่างๆ โดยพยายามลดบทบาทภาครัฐในการดำเนินการผลิต ผ่านการแปรรูป รัฐวิสาหกิจ รวมทั้งเปิดเสรีในการลงทุนมากขึ้น เช่น ธุรกิจเหมืองแร่ การขนส่ง
– ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการเมืองภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน อาจส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาการเมืองในพม่าในทิศทางที่ดีขึ้น

อุปสรรค
– ปัญหาชนกลุ่มน้อยตามชายแดนไทย-พม่า ทำให้รัฐบาลพม่าเกิดความไม่ไว้วางใจต่อรัฐบาลไทย
– ปัญหาการสู้รบระหว่างรัฐบาลพม่ากับชนกลุ่มน้อย ทำให้ไม่มีความปลอดภัยตามชายแดนไทย –พม่า
– ประเทศพม่ามีการกำหนดมาตรการต่างๆ เช่น การนำเข้าสินค้า ต้องใช้เงินที่ได้จากการส่งออก ( Export Earning)
– การค้าการลงทุนจากประเทศตะวันตกอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่าทำให้พม่าถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจจากสหรัฐอเมริกา รวมถึงการตัดสิทธิพิเศษทางการค้าในสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมจากยุโรปตั้งแต่ปี 2540
– นโยบายภาครัฐเกี่ยวกับการลงทุนขนาดใหญ่บางโครงการมีความไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับการลงทุนโดยขาดเหตุผลรองรับ
– การปิดด่านค้าขายชายแดนบ่อย ทำให้สินค้าไทยไม่สามารถขนส่งไปยังพม่าได้อย่างต่อเนื่อง

ที่มา: ศูนย์บริการข้อมูลการค้าการลงทุน จังหวัดเชียงใหม่
ข้อมูลชุดละเอียด —>> ข้อมูลชุดละเอียดของพม่า ขอขอบคุณข้อมูลจาก : aseanthailand.org