การท่องเที่ยวไทยในอาเซียน และทิศทางหลังเปิด AEC

เมื่อปี พ.ศ.2558 ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เราจึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าคนไทยและภาคธุรกิจทุกแขนงต้องตื่นตัว และเรียนรู้ภาษา วัฒนธรรม ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนด้วยกันให้มากขึ้น    เพื่อเป็นการเปิดโลกกว้าง และเป็นจุดเริ่มต้นการเตรียมความพร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในอนาคต

การเปิดเสรีบริการด้านการท่องเที่ยว    ซึ่งรวมถึงธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องภายใต้กรอบอาเซียนแต่ขณะเดียวกันก็ทำให้มีความเป็นไปได้สูงว่าแนวโน้มการแข่งขันในอนาคตจะยิ่งทวีความเข้มข้นเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน การเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในเมืองไทยด้วยการถือครองสัดส่วนการถือหุ้นที่เพิ่มมากขึ้น   จากคู่แข่งทั้งรายเดิมและรายใหม่ที่ต้องการเข้าสู่ตลาดเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งในตลาดการให้บริการด้านการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะมีขนาดใหญ่ขึ้นตามแนวโน้มมูลค่าเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนโดย  หากจะพิจารณารายได้จากการท่องเที่ยวของประเทศไทยที่ผ่านมา  สามารถแสดงข้อมูลได้ดังนี้

ที่มา  :  ข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

วิธีการทำอาชีพอิสระ

จากข้อมูลข้างต้นรายได้ของประเทศไทยที่มาจากการท่องเที่ยว  592,794   ล้านบาท ในปี  53  และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยให้ข้อมูลประมาณการรายได้ในปี 54 ไว้ที่  700,000 ล้านบาท เติบโตในอัตรา 18%  ชึ้ให้เห็นถึงศักยภาพการท่องเที่ยวของประเทศไทยมีแนวโน้มในทิศทางที่ดี

สถานที่ท่องเที่ยวของไทยที่เป็นที่นิยมของชาวต่างชาติ  จากผลการสำรวจของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  ปี 2554  ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูล จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 69 ประเทศ

แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมในเมืองไทย 10 อันดับแรก ปี 2554 

อันดับที่

แหล่งท่องเที่ยว

จังหวัด

1

หมู่เกาะพีพี กระบี่

2

เกาะเต่า สุราษฎร์ธานี

3

หาดพัทยา ชลบุรี

4

อัลคาซาร์ คาบาเรต์ ชลบุรี

5

หาดป่าตอง ภูเก็ต

6

เกาะเสม็ด ระยอง

7

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน พังงา

8

ตลาดนัดจตุจักร กรุงเทพฯ

9

อ่าวมาหยา กระบี่

10

หาดจอมเทียน ชลบุรี

ที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

 

จากข้อมูลพบว่า แหล่งท่องเที่ยวที่ชาวต่างชาตินิยม 10   อันดับแรก ส่วนใหญ่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล อันดับที่ 1 คือ หมู่เกาะพีพี   จังหวัดกระบี่ อันดับที่ 2 เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎรธานี อันดับที่ 3  หาดพัทยา จังหวัดชลบุรี  เป็นต้น

 

หากจะเปรียบเทียบสัดส่วนนักท่องเที่ยวจากประเทศกลุ่ม อาเซียน กับ ปริมาณนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามา  ท่องเที่ยวในประเทศไทย  ปริมาณนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยในปี 54  มีมากกว่า  19  ล้านคน มีอัตราการเติบโตถึง  20%  และเป็นนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคอาเซียน คิดเป็นร้อยละ    26  และใน ปี 55  (ม.ค. – เม.ย.)   ประเทศไทยยังคงมีนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคอาเซียน คิดเป็นร้อยละ 24  ที่เห็นได้ชัดคือนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคอาเซียนคิดเป็นสัดส่วนประมาณ  1 ใน  4  ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด

 จำนวนนักท่องเที่ยวจากประเทศ ASEAN ที่ให้ความนิยมมาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากที่สุด คือ   มาเลเซีย  ลาว  และ สิงค์โปร  ตามลำดับ และเห็นได้ชัดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวของทุกประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวในปี 2554  มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปี 2553  ทุกประเทศ

สำหรับสถานการณ์ตลาดภายในประเทศนั้น ภาคบริการด้านการท่องเที่ยวของไทยนับว่ามีศักยภาพค่อนข้างสูง ทั้งในส่วนของความพร้อมในการให้บริการแก่ชาวต่างชาติ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ  ซึ่งการเปิดเสรีภาคการท่องเที่ยวน่าจะช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวมีรายได้เพิ่มขึ้นจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คาดว่าจะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มมากขึ้น เพื่อเข้ามาใช้บริการโดยเฉพาะด้านโรงแรมที่พักซึ่งเป็นเครือข่ายของบรรดานักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทย  อันจะก่อให้เกิดการกระจายรายได้ไปยังกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นตามมา

ผู้ประกอบการไทยควรเร่งปรับตัวโดยใช้ประโยชน์จากการเป็นอาเซียนเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาด   รวมทั้งการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจโดยอาศัยจุดแข็งของภาคการท่องเที่ยวของไทยโดยเฉพาะการเป็นที่ยอมรับในด้านการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่งดงาม ความมีอัธยาศัยไมตรีที่ดีของคนไทย การมีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และรสชาติอาหารที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง    ธุรกิจจำหน่ายสินค้าของที่ระลึก   รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ  เช่น

ระบบการชำระเงิน ที่ควรเพิ่มความสะดวกเรื่องการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต บัตรเงินสดมากขึ้นขณะเดียวกันควรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้ข้อมูลสนับสนุนการท่องเที่ยวมากขึ้น มีการพัฒนาด้านแอพพลิเคชั่น รวมทั้งเว็บไซต์  เพื่อให้ข้อมูลนักท่องเที่ยว   อำนวยความสะดวกการจอง  รวมทั้งใช้ช่องทางนี้ให้นักท่องเที่ยวได้แบ่งปันประสบการณ์ท่องเที่ยว   ซึ่งที่กล่าวมานั้นถือเป็นเครื่องมือทางการตลาดเพื่อผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว จะนำไปใช้และสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง

 โดย   ว่าที่ ร.ต.ญ.ณิชานันท์ เอี่ยมเพ็ชร