ประเมินสถานการณ์ SMEs ไทย ภายใต้การเข้าสู่ AEC

การพัฒนาเศรษฐกิจไทยที่ยั่งยืนในอนาคตนั้น รัฐบาลจำเป็นต้องให้ความสำคัญมากกับการพัฒนาวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม หรือที่เรียกว่าSMEs (SMEs) ของไทย ให้แข่งขันกับนานาอารยประเทศได้ ผมได้ลองหาข้อมูลเกี่ยวกับ SMEsไทยที่เชื่อว่า หลายท่านผู้อ่านอาจจะยังไม่ทราบและเป็น ข้อมูลSMEsที่น่าสนใจ

จากข้อมูลล่าสุด ภาครัฐได้จัดหมวดให้SMEsครอบคลุม ประเภทธุรกิจ 4 กิจการสำคัญ คือ (1) กิจการการผลิต (Production Sector) ซึ่งครอบคลุมการผลิตในภาคเกษตรกรรม (Agricultural Processing) ภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing) และเหมืองแร่ (Mining) (2) กิจการบริการ (Service Sector) (3) กิจการค้าส่ง (Wholesale Sector) และ (4) กิจการค้าปลีก (Retail Sector)

นอกจากนี้ ภาครัฐยังได้กำหนดนิยามของSMEs โดยมี 2 เงื่อนไขประกอบกัน คือ จำนวนการจ้างงาน และมูลค่าสินทรัพย์ถาวร โดยในการพิจารณากำหนดขนาดจะเลือกเงื่อนไขที่น้อยกว่าเป็นเกณฑ์กำหนดขนาด เช่น ในกรณีที่จำนวนการจ้างงานของกิจการเข้าลักษณะของวิสาหกิจขนาดย่อม (Small Enterprises: SE) แต่มูลค่าสินทรัพย์ถาวรเข้าลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลาง (Medium Enterprises: ME) หรือในทางกลับกัน จะถือว่ากิจการนั้นเป็น วิสาหกิจขนาดย่อม (SE) โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้ให้คานิยาม ของธุรกิจSMEsในแต่ละสาขาการผลิต ดังนี้

วิธีการทำอาชีพอิสระ

ในการพัฒนาเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน เราจะเห็นได้ว่าSMEsถือเป็นกลไกสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาเช่นประเทศไทย ซึ่งมีจำนวน SMEsเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งSMEsยังกระจายตัวไปในหลายสาขาการผลิต และเนื่องจากSMEsซึ่งเป็นวิสาหกิจที่ใช้ เงินทุนจำนวนไม่สูงมากนัก กิจการจึงมีการบริหารจัดการที่ไม่ซับซ้อนมากนักเมื่อเทียบกับกิจการขนาดใหญ่ ส่งผลให้SMEsมีความคล่องตัวในการบริหารธุรกิจและสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ทั่วไปได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น บทบาทของSMEsจึงไม่ได้เป็นเพียงกิจการที่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในระดับประเทศแต่เพียงเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในระดับธุรกิจภาคประชาชน ที่นำไปสู่การกระจายรายได้ที่ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างความเข้มแข็ง ต่อระบบเศรษฐกิจและสนับสนุนให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน

จากข้อมูลล่าสุด ณ ปี 2553 ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ระบุว่า ผู้ประกอบการทั้งประเทศที่เป็นSMEsมีจำนวน 2.91 ล้านราย คิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 99.6 ของจำนวนวิสาหกิจทั้งหมด โดยSMEsส่วนใหญ่จะดำเนินธุรกิจอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากถึงร้อยละ 25.9 รองลงมาเป็นกรุงเทพฯ คิดเป็นร้อยละ 19.7 และภาคกลางคิดเป็นร้อยละ 19.4 ขณะที่หากพิจารณาประเภทธุรกิจ พบว่าSMEsส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจการค้าส่งค้าปลีกมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 49.7 รองลงมาคือการผลิตอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 17.9 และอันดับสาม คือ เป็นกิจการโรงแรมและภัตตาคาร คิดเป็นร้อยละ 9.3 การกระจายตัวของSMEsจึงช่วยในการกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจไปสู่ภูมิภาค อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจทั้งในส่วนภูมิภาคและของประเทศให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

ในด้านการจ้างงาน SMEsถือเป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนไม่สูงมากนัก โครงสร้างการผลิตจึงเน้นการใช้แรงงานเป็นสำคัญ โดยในปี 2553 มีจำนวนแรงงานในภาคธุรกิจSMEsถึงจำนวน 10.5 ล้านคน จากการจ้างงานรวมทั้งสิ้น 13.5 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 77.9 ของจำนวนแรงงานทั้งประเทศ โดยเป็นแรงงานในวิสาหกิจขนาดย่อมจำนวน 9.0 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 66.7 และเป็นแรงงานในวิสาหกิจขนาดกลางจำนวน 1.5 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.1

กล่าวโดยสรุป SMEsเป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทย โดยสร้างผลผลิตให้แก่ประเทศมากถึง 1.8 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) อีกทั้งSMEsยังก่อให้เกิดการจ้างงานถึง 10.5 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 80 ของจำนวนการจ้างงานรวม ตลอดจน SMEsยังเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของภาคการส่งออกของไทย โดยมีมูลค่าการส่งออกถึง 1.7 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 28.4 ของมูลค่าส่งออกรวม นอกจากนี้ SMEsยังมีบทบาทสำคัญในด้าน อื่นๆ อาทิ เป็นจุดเริ่มต้นในการลงทุนสร้างเสริมประสบการณ์ และเป็นแหล่งพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน ช่วยเชื่อมโยงภาคการผลิตต่างๆ จากการเป็นธุรกิจต้นน้ำ ช่วยประหยัดเงินตราต่างประเทศ โดยการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ และช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำโดยการผลิตที่กระจายตัวไปยังภูมิภาค เป็นต้น

สถานการณ์ธุรกิจในปัจจุบัน จะพบว่าผู้ประกอบการSMEsไทยยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายที่เพิ่มขึ้นทั้งจากปัจจัยภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันที่สูงขึ้นจากจำนวนSMEsที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การดำเนินนโยบายของภาครัฐ เช่น นโยบาย เพิ่มรายได้แรงงาน 300 บาท ซึ่งส่งผลให้SMEsที่มีอยู่ และที่กำลังเข้ามาสู่ตลาดจำเป็นต้องเร่งปรับตัวเพื่อยกระดับขีดความสามารถ ในการแข่งขัน และสร้างฐานของกิจการให้เข้มแข็ง ขณะที่ความท้าทายจากปัจจัยภายนอกประเทศก็มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผล กระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก และผลกระทบภายหลังการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือAEC (ASEAN Economic Community: AEC) ซึ่งเห็นว่าSMEsไทยจะต้องอาศัยจุดแข็งจากความได้เปรียบของการเป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรกรรมรายสำคัญของโลก และการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน เพื่อสร้างโอกาสและความเข้มแข็งให้กับธุรกิจของตนเอง

ดังนั้น รัฐบาลจำเป็นต้องมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุน SMEsอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น ผมเห็นด้วยที่รัฐบาลกำลังจะเริ่มโครงการกองทุนตั้งตัวได้ เพื่อเป็นการสร้างผู้ประกอบการใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มนิสิต นักศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการสร้างผู้ประกอบใหม่ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม หากมองไป ข้างหน้า ผมอยากเห็นนโยบายรัฐบาลที่ส่งเสริมSMEsในอีก 3 ด้าน คือ (1) เร่งส่งเสริมผู้ประกอบการในพื้นที่ชายแดนรวม 16 จังหวัด โดยการลดอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจด้วยการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อเป็นการเปิดประตูการค้าและสร้างความสมานฉันท์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (2) ใช้ประโยชน์จากนโยบายโอท็อป (OTOP) โดยเฉพาะการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า โดยเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าจากการออกแบบ การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมของไทย ผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมในกลุ่มผลิตภัณฑ์โอท็อป เพื่อยกระดับสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ และ(3) เตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ให้ผู้ประกอบการ โดยการเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวกับAECให้กลุ่มผู้ประกอบการSMEsได้รับทราบถึงผลกระทบทั้งด้านดีและไม่ดี รวมถึงความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเตรียมความพร้อมก่อนการเปิด AEC เพื่อให้ผู้ประกอบการเท่าทันสถานการณ์ที่อาจส่งผล กระทบและสามารถปรับตัวทั้งในเชิงรุกและรับ เพื่อให้เท่าทัน

หากจำเป็น รัฐบาลอาจจะต้องพิจารณาจัดตั้งกองทุนเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการสำหรับAEC เพื่อขยายโอกาสทางการค้า การลงทุน และเยียวยาผู้ประกอบการที่ได้รับผล กระทบจากAEC รวมทั้งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และอาจพิจารณาจัดตั้ง Thailand Plaza ในประเทศอาเซียนทั้ง 9 ประเทศ เพื่อเป็นการเจาะตลาดและโชว์สินค้าที่มีศักยภาพของSMEsไทย

ที่มา : ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)