TPP หุ้นส่วนยุทธศาสตร์เอเชีย-แปซิฟิก

หุ้นส่วนยุทธศาสตร์เอเชีย-แปซิฟิก (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement : TPP) เป็นความตกลงพันธมิตรด้านการค้าข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเกิดขึ้นจากความคิดริเริ่มของ 4 ชาติ คือ สิงคโปร์, นิวซีแลนด์, บรูไน และชิลี ในปี 2548 เริ่มจากความตกลงด้านการค้า เพื่อหาทางรวมกลุ่มด้านเศรษฐกิจ แต่ต่อมาได้เติบโตขึ้นมาเป็นกลุ่ม 12 ชาติที่มาจาก 3 กลุ่มของข้อตกลงการค้าเสรีแอตแลนติกเหนือมีสหรัฐ, เม็กซิโก, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, เปรู, มาเลเซีย และเวียดนาม ขณะที่ยังมีอีกหลายประเทศแสดงความสนใจเข้าร่วมเจรจา เช่น ไทย, ไต้หวัน, เกาหลีใต้, อินเดีย, บังกลาเทศ และสมาชิกที่เหลือของอาเซียนอาจเข้าร่วมเจรจา ทั้งนี้ก็เพื่อลดการกีดกันทางการค้า ซึ่งปัจจุบันก็ลดลงอยู่แล้ว ยกเว้นสินค้าพิเศษด้านเกษตรกรรมและอื่น ๆ

วิธีการทำอาชีพอิสระ

นอกจากนั้นแล้ว TPP ยังได้กำหนดรูปแบบการปฏิบัติด้านการลงทุนจากต่างประเทศและระเบียบในกลุ่มใหญ่ของสมาชิกก็ต้องผ่านการเจรจา ส่วนใหญ่จะเป็นความลับ ยกเว้นที่รั่วไหลออกมา เช่น ผลประโยชน์ของบริษัทในด้านการเงิน และเครื่องเวชภัณฑ์

ด้านรัฐบาลสหรัฐซึ่งขณะนี้ถือว่าเป็นหัวเรือใหญ่ที่พยายามผลักดันให้เกิดความคืบหน้าของทีพีพี ยืนยันว่า ประเด็นทุกเรื่องของการเจรจาได้หารือกับสภาคองเกรสแต่ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ออกมาอย่างมากมายหลายกลุ่ม ทั้งกลุ่มอนุรักษ์ กลุ่มนักวิชาการ

ในขณะที่สมาชิกสภาคองเกรสของสหรัฐ ก็กล่าวยอมรับว่า รู้เรื่องน้อยมากหรือบางทีก็ไม่แทบไม่รู้อะไรเลยในการเจรจาของทีพีพี นอกจากนั้น สมาชิกหลายคนของพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันต่างไม่เห็นด้วยกับการให้อำนาจชี้ขาดได้อย่างรวดเร็วสำหรับทีพีพี อนุญาตให้อภิปรายแก้ไขเนื้อหา แทนที่จะใช้การลงมติเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย แต่ประเด็นอยู่ที่การเจรจานั้นยากลำบากกว่าจะตกลงกันได้ในกลุ่มสมาชิก ซึ่งจะต้องกลับมาเปิดอภิปรายกันใหม่ ซึ่งก็ทำได้แต่เป็นไปไม่ได้ที่จะบรรลุข้อตกลงกันอย่างกว้างไกล เสียงคัดค้านส่วนใหญ่มาจากฝ่ายซ้ายซึ่งเกรงว่าจะมีผลกระทบด้านแรง งานและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนพรรคแนวอนุรักษนิยมก็เกรงว่า การให้อำนาจสูงสุดแก่ประธานาธิบดีสหรัฐ จะทำให้ผู้นำรัฐบาลวอชิงตันมีอำนาจมากเกินไปอีก

กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก็ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การทำความตกลงทีพีพี เพราะพวกเขาพยายามต่อสู้ว่าปัญหาโลกร้อน ซึ่งแก้ได้โดยอาศัยกฎหมายและการปกป้องดินแดนหรือสายพันธุ์นั้น อาจยอมความกันได้ ข่าวที่รั่วไหลออกมาจากวิกิลีกส์ในประเด็นสิ่งแวดล้อม ซึ่งวิกิลีกส์ไม่เห็นด้วยเลย ก็คือ เอกสารเพื่อการประชาสัมพันธ์นั้นจำเป็นที่จะต้องเผยแพร่เพื่อให้ทราบโดยทั่วกันแต่กลับไม่มีกลไกของการบังคับใช้ตามกฎหมาย

ด้านนักวิชาการก็มองว่า TPP ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของบริษัทมากกว่าคนงาน ทั้งนี้ก็เพื่อเคลื่อนย้ายกฎระเบียบที่ควบคุมบริษัทออกไป โดยรักษาผลประโยชน์ของผู้มีรายได้มั่งคั่ง

เอลเลน ฟรอสต์ แห่งศูนย์อีสต์-เวสต์ในเอเชีย-แปซิฟิก บูเลตติน เคยเขียนไว้เมื่อปีที่แล้วเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ที่แฝงมากับทีพีพีโดยตั้งข้อสังเกตว่า การที่จีนมีปฏิกิริยาต่อการเข้าร่วมของสหรัฐใน TPP ว่าเป็นการมองในแง่ลบ ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าทีพีพีคือการปิดล้อมจีน แม้ในบทบัญญัติของ TPP จะไม่เคยเอ่ยถึงจีน แต่จีนก็อาจจะเข้าร่วมได้ในบางประเด็นที่เห็นด้วย

ประเทศอื่น ๆ ในเอเชียยังเห็นว่าทีพีพีกำลังบ่อนทำลายภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะอินโดนีเซียซึ่งเป็นสมาชิกสำคัญของอาเซียน แต่กลับไม่ได้อยู่ในบัญชีประเทศผู้กำลังเจรจาเข้าร่วมเลย รวมถึงประเทศที่ไม่ได้มีฐานะมั่งคั่งอย่างลาว, เมียนมาร์และกัมพูชาก็ไม่ได้คิดที่จะเข้าร่วมด้วยเลย

หลายชาติจึงยังเคลือบแคลงในการเจรจาของ TPP ว่ามีนัยแอบแฝงอะไรโดยเฉพาะจากชาติมหาอำนาจซึ่งมักจะมีเงื่อนไขในกรอบเจรจา