ประเทศไทย ความพร้อมด้านกฎหมาย สู่ประชาคมอาเซียน

เมื่อมีการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ซึ่งประกอบไปด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

(ASEAN Political and Security Community-APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) ใน ปี 2558 แล้วทางด้านเศรษฐกิจจะมีการเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน การเคลื่อนย้ายเงินทุนในอาเซียน ทำได้เสรียิ่งขึ้น นักวิชาชีพ ผู้มีความสามารถพิเศษ แรงงานฝีมือ สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานในประเทศอาเซียนอื่นได้สะดวกขึ้นส่งผลให้ภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างประเทศอาเซียนเป็นศูนย์เปอร์เซ็นต์ เว้นแต่ที่เป็นสินค้าอ่อนไหวและอ่อนไหวสูง อุปสรรคในการนำเข้าสินค้าที่ไม่ใช่ภาษีจะหมดไป ซึ่งจะทำให้ตลาดของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศรวมเป็นหนึ่งเดียว มีการเปิดเสรีการค้าบริการรวมทั้งสิ้น 12 สาขาใหญ่ ประกอบด้วย 128 สาขาย่อย

โดยภายในปี 2558 จะต้องอนุญาตให้นักลงทุนอาเซียนถือหุ้นได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ในทุกสาขาบริการ มีการจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) ในเรื่องคุณสมบัติวิชาชีพจำนวน 7 ฉบับ สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบริการ 7 สาขา ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก ช่างสำรวจ และการบัญชี เพื่ออำนวยความสะดวกในการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และในอนาคตประเทศไทยอาจจะทำข้อตกลงเพิ่มด้านการท่องเที่ยวด้วย สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพในสาขา ดังกล่าวในประเทศอาเซียนประเทศหนึ่ง หากประสงค์จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในประเทศอาเซียนอื่น จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในที่ประเทศนั้น ๆ กำหนดเสียก่อน การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ย่อมส่งผลกระทบให้ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับ รวมทั้งอาจต้องมีการทำความตกลงระหว่างประเทศเพิ่มเติมด้วย

การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายของประเทศไทย เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

วิธีการทำอาชีพอิสระ

1.1 ปรับปรุงแก้ไขระเบียบ กฎหมาย ความตกลง ที่เกี่ยวกับพิธีการทางศุลกากร เพื่อลดขั้นตอนพิธีการด้านศุลกากรอ่านวยความสะดวกทางการค้า สนับสนุนการขนส่งสินค้าข้ามชายแดน ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบที่เป็นข้อจำกัดอุปสรรคของนักธุรกิจ นักลงทุนไทยในการแข่งขันกับนักธุรกิจ นักลงทุนจากประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ ปรับปรุงแก้ไข กฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการตรวจคน เข้าเมือง เพื่ออ่านวยความสะดวกในการตรวจลงตราแก่นักธุรกิจ นักลงทุน ผู้ประกอบวิชาชีพและแรงงานฝีมือ อาเซียน

1.2 ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายอื่น ๆ ที่เป็นข้อจำกัดและอุปสรรคในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เช่น แก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ให้สอดรับกับการที่จะต้องอนุญาตให้นักลงทุนอาเซียนถือหุ้นได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ในทุกสาขาบริการภายในปี 2558 โดยต้องมีการแก้ไขมาตรา 4 ในเรื่องสัดส่วนการถือหุ้นของคนต่างด้าวในนิติบุคคลและต้องมีการแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ที่ห้ามไม่ให้คนต่างด้าวประกอบกิจการธุรกิจบางประเภทที่เป็นธุรกิจที่คนไทยยังไม่พร้อมจะแข่งขันกับคนต่างด้าวด้วย

แก้ไข พ.ร.บ.ธุรกิจนาเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 ซึ่งตามมาตรา 17 กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวซึ่งเป็นนิติบุคคล ต้องเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย โดยถ้าเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ทุนของบริษัทไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ต้องเป็นของบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย

แก้ไข พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 ซึ่งตามมาตรา 22 กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนที่เป็นนิติบุคคล หากเป็นนิติบุคคลที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัด บริษัทจำกัด หรือห้างหุ้นส่วน ต้องมีจำนวนหุ้นหรือทุนเป็นของผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นหรือทุนทั้งหมด

แก้ไขกฎหมายต่าง ๆ เพื่อรองรับการเข้ามาทำงานของแรงงานฝีมือจากอาเซียน โดยเฉพาะที่เป็นนักวิชาชีพที่ประเทศไทยได้ลงนามในข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) ในเรื่องคุณสมบัติวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบริการ 7 สาขาไปแล้ว ได้แก่ พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 เพื่อให้คนอาเซียนสามารถทำงานในประเทศไทยได้ ซึ่งแต่เดิมเป็นอาชีพและวิชาชีพสงวน

พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 เพื่อให้การพัฒนาฝีมือแรงงานครอบคลุมถึงคนอาเซียนโดยไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และ พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2542 พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 เพื่อให้คนอาเซียนสามารถเป็นที่ปรึกษาฝ่ายนายจ้างหรือฝ่ายลูกจ้าง สามารถจัดตั้งสหภาพแรงงาน และเป็นกรรมการหรืออนุกรรมการของสหภาพแรงงานได้

การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายไทย เพื่อเตรียมพร้อมรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้น

เช่น ปัญหาคนเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย อาชญากรรมข้ามชาติ ยาเสพติด ขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติ แรงงานต่างด้าว การฟอกเงิน อาชญากรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การก่อการร้าย การค้าอาวุธโดยผิดกฎหมาย การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น

ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายในแต่ละเรื่อง ต้องมาร่วมกันพิจารณาศึกษาดูว่ากฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน มีความบกพร่องที่ต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไรหรือไม่ เพราะลำพังเพียงการบังคับใช้กฎหมายกับประชาชนไทยที่มีจำนวนประมาณ 60 ล้านคน ถ้ายังประสบปัญหาเนื่องจากความบกพร่องความไม่สมบูรณ์ของกฎหมายแล้ว หากประเทศไทยต้องเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งจะทำให้มีการเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีแล้วย่อมต้องประสบปัญหาเพิ่มขึ้นเป็นทับทวีอย่างแน่นอน รวมทั้งควรต้องมาพิจารณาร่วมกันว่ามีความจำเป็นต้องบัญญัติกฎหมายเพิ่มเติมในเรื่องใดอีกหรือไม่ด้วย

การทำความตกลงระหว่างประเทศ ในระดับทวิภาคี หรือพหุภาคีของประเทศอาเซียน มีกรณีที่ประเทศไทยควรต้องพิจารณาดังนี้ ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา ประเทศไทยได้ทำความตกลงที่เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา ในเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับประเทศสมาชิกอาเซียนเฉพาะบางประเทศ

ดังนั้น หากมีกรณีที่ต้องร้องขอให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนในประเทศสมาชิกอาเซียนที่ประเทศไทยไม่ได้ทาสนธิสัญญาด้วย ก็จะทำให้เกิดปัญหาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนตามมา

สำหรับสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางอาญา ที่เป็นความตกลงให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องการสืบสวนสอบสวน การฟ้องคดี และกระบวนการอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องอาญานั้น ประเทศไทยไม่ได้ลงนามในสนธิสัญญานี้ร่วมกับประเทศใดในสมาชิกอาเซียนโดยตรง จะมีก็แต่เพียงลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางอาญากับสหราชอาณาจักร ซึ่งทำให้สนธิสัญญาฉบับนี้มีผลบังคับใช้รวมไปถึงประเทศมาเลเซีย และสาธารณรัฐ สิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศในเครือจักรภพอังกฤษด้วย

ดังนั้น ประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน เว้นแต่ประเทศมาเลเซีย และสาธารณรัฐสิงคโปร์ จึงขาดกระบวนการภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศที่จะให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตามสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางอาญา หากมีคดีความผิดอาญาเกิดขึ้น

ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางแพ่งและพาณิชย์

ประเทศไทยไม่เคยลงนามความตกลงระหว่างประเทศ ว่าด้วยการยอมรับและบังคับตามคาพิพากษาของศาลต่างประเทศ ในเรื่องทางแพ่งและพาณิชย์กับประเทศใดดังนั้น หากศาลไทยมีคาพิพากษาตัดสินคดีแพ่งบังคับกับจาเลยหรือทรัพย์สินของจาเลย แล้วจาเลยหลบหนีไปอยู่ในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น และขนย้ายทรัพย์สินหนีไปทั้งหมดด้วย หรือในกรณีกลับกัน ศาลต่างประเทศในประเทศสมาชิกอาเซียนตัดสินคดีแล้วจาเลยหลบหนีพร้อมทั้งขนย้ายทรัพย์สินหนีมาประเทศไทย

ทั้งสองกรณีนี้ศาลไทยและศาลต่างประเทศไม่สามารถดำเนินการบังคับ คดีกับจาเลยและทรัพย์สินของจาเลยที่นาหลบหนีไปได้ เพราะทั้งสองประเทศไม่ได้ทำความตกลงร่วมกันในเรื่องการยอมรับ และบังคับตามคาพิพากษาของศาล ต่างประเทศในเรื่องทางแพ่งและพาณิชย์ระหว่างกัน

ความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการส่งคาคู่ความและเอกสารในคดีแพ่งและพาณิชย์ไปยังต่างประเทศ

ปัจจุบันประเทศไทยทำความตกลงระหว่างประเทศในเรื่องการส่งคาคู่ความและเอกสาร และการสืบพยานหลักฐานในคดีแพ่งและพาณิชย์กับประเทศสมาชิกอาเซียนเฉพาะสาธารณรัฐอินโดนีเซียเพียงประเทศเดียวเท่านั้น ซึ่งตามความตกลงดังกล่าว กำหนดให้การให้ความช่วยเหลือกันทางศาลในเรื่องการส่งเอกสารในคดี หรือการขอให้มีการสืบพยานหลักฐาน สามารถดำเนินการโดยผ่านหน่วยงานกลางของประเทศภาคีคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย โดยไม่ต้องใช้วิธีการทางการทูตสำหรับหน่วยงานกลางของประเทศไทย คือสำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งตามความตกลงดังกล่าวทำให้การส่งคาคู่ความและเอกสารในคดีแพ่ง เช่น หมายเรียกและคาฟ้องทำได้โดยสะดวกรวดเร็วขึ้น หากไม่ได้ทำความตกลงระหว่างประเทศระหว่างกันแล้ว การส่งคาคู่ความและเอกสารในคดีแพ่งระหว่างคู่กรณีที่อยู่คนละประเทศต้องใช้วิธีการทางการทูต ซึ่งใช้เวลาดำเนินการนำนมาก เมื่อพิจารณากรณีต่าง ๆ ข้างต้น จะเห็นว่าเป็นปัญหาที่กระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจ การลงทุน ความเชื่อมั่นในการดารงชีวิต และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนในประชาคมอาเซียนโดยตรง จึงมีความจำเป็นที่ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องเร่งรีบทำความตกลงระหว่างกันในเรื่องที่เป็นปัญหาดังกล่าว ซึ่งอาจเป็นความตกลงทวิภาคีหรือพหุภาคี และหากจะให้ดีเมื่อทุกประเทศสมาชิกอาเซียนมีความพร้อมแล้ว ควรที่จะทาเป็นสนธิสัญญาอาเซียนในเรื่องนั้น ๆ เพื่อให้การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเป็นไปอย่างสมบูรณ์ และบรรลุเจตนารมณ์ของการจัดตั้งประชาคมอาเซียนด้วย

สำหรับการเตรียมความพร้อมในด้านกฎหมาย ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนทั้ง 3 เสาดังกล่าวนั้น ภาครัฐเพิ่งมีการดำเนินการที่ชัดเจนเมื่อคราวจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2555 โดยมอบหมายให้กระทรวงยุติธรรมปรับปรุงแก้ไขระบบนิติธรรมไทยให้เข้าสู่มาตรฐานสากลมากยิ่งขึ้น และมอบหมายสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางการปรับปรุงและเตรียมความพร้อมด้านกฎหมายของไทย เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ประเทศไทยมีกฎหมายที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย ขณะที่ระยะเวลาที่ประเทศไทยจะต้องเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเหลือเพียงประมาณ 2 ปีเท่านั้น การเร่งรัดปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาซียน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้ประสานงานหลักจึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเป็นอย่างยิ่ง โดยการกำหนดกรอบเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจนแน่นอน

ทั้งในชั้นการจัดทำร่างปรับปรุงแก้ไขกฎหมายของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา และในชั้นการตรวจพิจารณาร่างกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก และเมื่อร่างกฎหมายที่ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เสนอเข้าสู่การพิจารณาของ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาตามขั้นตอนแล้ว ทั้งสองสภาก็ควรเร่งรีบดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดยมีกรอบระยะเวลาในการพิจารณาที่ชัดเจน เพื่อให้ร่างกฎหมายสามารถพิจารณาได้เสร็จทันกำหนดเวลาก่อนที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558

ที่มา :  ดร.ธนกฤต วรธนัชชากุล ประชาชาติธุรกิจ