AEC จำเป็นที่จะต้องคานึงถึงประเด็นด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย เพราะประเทศสมาชิกแต่ละประเทศต่างมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ความเข้มงวดและความยืดหยุ่นของนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รูปแบบการค้าที่ประเทศสมาชิกจะนาเข้าหรือส่งออกสุทธิทรัพยากรธรรมชาติและสินค้าอื่นๆที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีการผลิต ความเข้มข้นในการใช้ปัจจัยการผลิต และความสามารถในการทดแทนกันได้ของปัจจัยการผลิตต่างๆ พฤติกรรมการบริโภคของประชาชนอีกทั้งทัศนคติของประชาชนในประเทศที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ซึ่งสามารถวัดเป็นมูลค่าได้จากความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)และประเด็นอื่นๆอีกมากมาย
ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างปัจจัยสาคัญบางประการที่อาจทาให้ผลกระทบทางเศรษฐกิจของการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเกิดความแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศสมาชิก เพราะโดยหลักการแล้วเราจะต้องนาเอาต้นทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเข้ามาคิดคานวณเป็นส่วนหนึ่งของผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้วยเสมอ นั่นก็คือผลกระทบต่อกรีนจีดีพี (Green GDP) หรือผลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหักด้วยต้น ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งผลกระทบต่อสวัสดิการความเป็นอยู่ของประชาชน ความยากจนและการกระจายรายได้
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยกตัวอย่างเช่น กรณีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (พม่า) ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งดิน ป่าไม้อัญมณี น้ามัน และก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ หากการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนส่งผลกระตุ้นให้ประเทศพม่ามุ่งเน้นที่จะใช้ความได้เปรียบจากความมั่งคั่งเหล่านี้เป็นความเชี่ยวชาญหลักในการแข่งขันทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ และหากพม่าไม่มีมาตรการควบคุมดูแลการใช้ทรัพยากรธรรม ชาติอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว เราก็สามารถคาดการณ์ได้ว่าอัตราการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในประเทศพม่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งอาจจะมากกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นตามปกติของทรัพยากรธรรมชาติ เมื่อเป็นเช่นนี้ทรัพยากรธรรมชาติจะร่อยหรอลงไปอย่างรวดเร็ว
ผลประโยชน์ที่ประเทศพม่าจะได้รับจากการเปิดการค้าและการลงทุนภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนย่อมจะเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น หรือกรณีการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้วส่งผลกระตุ้นให้พืชพันธุ์ธัญญาหารมีราคาที่ดีขึ้นกว่าเดิม เกษตรกรและผู้ผลิตสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกย่อมจะทาการปรับเปลี่ยนที่ดินเพื่อขยายการเพาะปลูกพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงมากยิ่งขึ้น ประเทศที่มีเนื้อที่ในการเพาะปลูกที่จากัด เช่น ฟิลิปปินส์ ก็อาจจะถางป่าเพื่อทาการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจนี้ อีกทั้งปัจจัยแรงงานและทุนก็จะมีการโยกย้ายมาจากภาคส่วนอื่นๆในกรณีนี้หากเกษตรกรและผู้ผลิตสินค้าเกษตรต่างสามารถเข้าใช้ผืนป่าได้อย่างเปิดกว้างเสรี (Open Access) หรือไม่มีมาตรการดูแลการขยายพื้นที่เพาะปลูกอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ในระยะยาวฟิลิปปินส์จะสูญเสียป่าไม้และดินอันอุดมสมบูรณ์มากกว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับ
กรณีหากการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนส่งผลกระตุ้นให้ปัจจัยการผลิตต่างๆ เช่น แรงงานและทุนสามารถเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศสมาชิกได้อย่างเสรี เราก็สามารถคาดการณ์ได้ว่าการขยายตัวของปัจจัยการผลิตที่ใช้อย่างเข้มข้นในอุตสาหกรรมการผลิตหนึ่งๆ ย่อมจะกระตุ้นให้การผลิตของอุตสาหกรรมนั้นๆ มีการเติบโตมากยิ่งขึ้น หากอุตสาหกรรมนั้นเป็นกิจกรรมการผลิตที่สร้างผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อม เช่นก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศหรือทางน้า โดยที่ประเทศสมาชิกนั้นๆ ไม่ได้มีการปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตให้มีประสิทธิภาพ หรือไม่มีการใช้เทคโนโลยีที่สะอาด หรือไม่มีเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ดูแลอย่างมีประสิทธิ ภาพ เช่น ภาษีสิ่งแวดล้อม โควตา หรือการซื้อขายสิทธิการปล่อยมลพิษแล้ว ก็คาดได้ว่าสวัสดิการความเป็นอยู่ของประชาชนจะเลวลงในระยะยาว
ตัวอย่างข้างต้นเป็นเพียงการชี้ให้เห็นถึงความสาคัญของผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในวงกว้างต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และการทาลายสิ่งแวดล้อมของประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อีกทั้งชี้ให้เห็นว่าตัวแปรภายนอกอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการ การเปลี่ยนแปลงปริมาณปัจจัยการผลิตต่างๆ ก็สามารถสร้างผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้โดยตรง ในขณะที่ประเทศสมาชิกยังต้องพึ่งพาอาศัยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระยะยาวการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมย่อมกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศสมาชิกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นอกจากนี้ ยังชี้ให้เห็นว่าผลกระทบดังกล่าวประเทศสมาชิกต่างๆ สามารถเข้ามาควบคุมดูแลได้ ถ้าหากมีการประยุกต์ใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อประกอบขึ้นมาเป็นนโยบายและมาตรการที่เหมาะสม ซึ่งไม่เพียงแต่การควบคุมและกากับโดยการออกกฎหมายบังคับหรือการกาหนดให้ปล่อยมลพิษในระดับเกณฑ์มาตรฐานแล้ว เรายังสามารถใช้ภาษีสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายเช่น ภาษีมลพิษหรือค่าธรรมเนียมผลิตภัณฑ์ที่ก่อมลพิษ ค่าธรรมเนียมการอนุญาตปล่อยมลพิษ ค่าธรรมเนียมการจัดการมลพิษ การซื้อขายหรือโอนสิทธิใบอนุญาตการปล่อยมลพิษ การวางประกันความเสี่ยงหรือความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม หรือมาตรการอุดหนุนเทคโนโลยีสะอาด เป็นต้นเครื่องมือเหล่านี้เมื่อนามาใช้อย่างเหมาะสม(Optimum) ก็จะช่วยกระตุ้นให้ผู้ผลิตพัฒนาเทคโนโลยีสะอาด ลดการทาลายทรัพยากรธรรมชาติอีกทั้งประชาชนก็จะมีพฤติกรรมการบริโภคที่มีความรับผิดชอบมากยิ่งขึ้น
แน่นอนว่า การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมุ่งหวังให้ประเทศสมาชิกต่างมีพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่ดีมีรายได้มากขึ้น การที่เราจะไปฝากความหวังว่าเมื่อใดรายได้ของประเทศสมาชิกดีขึ้นเรื่อยๆแล้ว ค่อยมาใส่ใจดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในภายหลังนั้น อาจจะสายเกินไปได้ เพราะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่นั้นยากเกินกว่าที่จะแก้ไขให้ย้อนกลับคืนมาในสภาพดังเดิมได้(Irreversible) ดังนั้นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงเป็นประเด็นสาคัญที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนไม่ควรที่จะละเลย แต่กลับต้องคานึงถึงตลอดเวลา
ที่มา : โพสต์ทูเดย์