“ก้าวแรกที่จะนำเราไปสู่สิ่งที่ต้องการในชีวิตคือตัดสินใจให้ได้ก่อนว่าเราต้องการอะไร” เบน สไตน์ นักเศรษฐศาสตร์ และคนดังทางโทรทัศน์กล่าว
ผู้หญิงคนหนึ่งเป็นหญิงม่ายวัย 30 เศษ เธอเคยมีนิสัยชอบชอปปิ้งแก้เซ็ง มองหาสินค้าลดราคา คิดแต่ว่ากำลังประหยัด แต่ไม่เคยรู้ว่าจริง ๆ แล้วกำลังใช้จ่ายอยู่ ท้ายที่สุดเจ้าหนี้บัตรเครดิตก็เริ่มโทรมาทวงหนี้ ทำให้เธอหันกลับมามองชีวิตตัวเอง เธอมีลูกชายวัย 4 ขวบ ที่อยากส่งเช้าโรงเรียนเอกชน ส่วนเธออยากเรียนต่อปริญญาโท และเมื่อดูราคาอสังหาริมทรัพย์ เธอตระหนักดีว่าการชื้อบ้านของตัวเองสักหลังเป็นเรื่องไกลเกินเอื้อม
ผู้หญิงคนนี้ตัดสินใจว่าเป้าหมายของเธอสำคัญมาก พอจะเลิกใช้จ่ายฟ่มเฟือย แล้วเธอก็เลิกนิสัยนี้ทันที “มีวิธีอื่นด้วยหรือ” เธอถาม นึ่ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่าย ๆ เลย บางครั้งเธอมองผ่านกระจกหน้าร้านค้า และบอกตัวเองว่า “ฉันอยากได้ของชิ้นนั้น” แต่แล้วเธอก็ตระหนักว่าไม่ได้ต้องการข้าวของพวกนั้นจริง ๆ สิ่งที่ต้องการ คือ การศึกษาสำหรับลูกชาย และตัวเองต่างหาก
การนึกภาพสิ่งที่เราต้องการให้ออก คือ ก้าวแรกในการตั้งเป้าหมายคิดการใหญ่ แต่เจาะจงให้ชัดเจน แค่ตั้งเป้าหมายว่า “ชื้อบ้านหลังแรกให้ไดีในไม่ข้า” อาจกว้างเกินไป กำหนดใหม่ว่าต้องการ ชื้อบ้านขนาด 3 ห้องนอน อยู่ห่างจากที่ทำงานไม่เกิน 30 นาที ก่อนเปิดเทอมปีหน้า เป้าหมายแบบนี้ชัดเจนดีกว่า
เขียนเป้าหมายทางการเงินของเราเป็นลายลักษณ์อักษร จากนั้นลองคิดวางแผนขั้นตอนที่ต้องทำเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น จัดกลุ่มแยกว่าส่วนใดจัดการได้ ถ้าเป้าหมายของเรา คือ ปีหน้าจะออมเงิน 200,000 บาท เวลาเห็นเลขศูนย์มาก ๆ แบบนี้อาจทำให้หมดกำลังใจ แต่ถ้าเขียนว่าจะออมสัปดาห์ละ 3,850 บาท ก็คงช่วยให้มีกำลังใจมากขึ้น และถ้าเรารู้ว่าสามารถมีเงินออมก้อนใหญ่ขนาดนั้นได้โดยเลิกเป็นสมาชิก สโมสรออกกำลังที่เราไม่เคยไปใช้บริการเลย ตลอดจนไปกินอาหารนอกบ้านแต่ละสัปดาห์ให้น้อยลงสักมื้อ เส้นทางสู่เป้าหมายของเราจะชัดเจนขึ้นทันที
หลายคนมองเป้าหมายเป็นเหมือนจุดที่ยังอยู่อีกไกล ซึ่งเป็นวิธีคิดที่ผิด ควรมองเป้าหมายว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในชีวิต ซึ่งเราเองเป็นคนกำหนดเพื่อให้บรรลุสิ่งที่เราปรารถนา