พัฒนาทักษะ ‘ภาษาอังกฤษ’ สู่อาเซียนเพิ่มโอกาสสร้างงาน สร้างอาชีพ

เป็นที่ทราบกันดีว่าในปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) โดยใน กฎบัตรอาเซียนมาตราที่ 34 ระบุให้ใช้ภาษาทำงานของอาเซียน คือภาษาอังกฤษ (The working language of ASEAN shall be English) ซึ่งหมายความว่าประชาชนใน 10 ประเทศอาเซียนจะต้องใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้นนอกเหนือจากการใช้ภาษาประจำชาติหรือภาษาประจำท้องถิ่นของตนเอง ซึ่ง ณ วันนี้หากเราจะเริ่มต้นพัฒนาทักษะหรือฝึกฝนภาษาอังกฤษเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับตนเองในการแสวงหาโอกาสที่ดี

การก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนหลายคนมักเข้าใจว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเทศเท่านั้นที่จะต้องสื่อสารกันหรือเฉพาะนักธุรกิจ ผู้ค้าขายระหว่างประเทศเท่านั้นที่จะต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและการติดต่อธุรกิจ แต่ความจริงแล้วเมื่อถึงเวลานั้นทุกคนที่อยู่ในอาเซียนก็จะต้องเดินทางไปท่องเที่ยวเพื่อทำความรู้จักคุ้นเคยกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน หรือไม่บางคนอาจจะต้องเดินทางข้ามพรมแดนเพื่อออกไปหางานทาหรือแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าให้กับชีวิต “ภาษาอังกฤษ” จึงนับเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสื่อสารในโลกแห่งการแข่งขันแบบไร้ขอบเขต ทั้งด้านภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม

วิธีการทำอาชีพอิสระ

ต่อกรณีดังกล่าว มร.มิเชล เลอ เคอเลคผู้อำนวยการสถาบันสอนภาษาอังกฤษวอลล์สตรีท แนะนำว่า อีก 3 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน หมายความว่าเวลาเหลือน้อยลงแล้วที่จะปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของตัวเราเองให้ดีขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีวิธีเรียนภาษาอังกฤษหลากหลาย คือ 1. สำหรับคนที่มีศักยภาพทางการเงินจะส่งตัวเองไปเรียนต่างประเทศ เพราะการเข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีภาษาอังกฤษทั้งหมดแน่นอนว่าจะทำให้ใช้ภาษาอังกฤษได้ดี แต่ว่าจะมีสักกี่คนที่สามารถทำได้ 2. ฝึกจากอีเลิร์นนิ่งทางอินเทอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ แต่บางคนเบื่อระหว่างทาง เพราะไม่เจอทางที่ถูกต้องจนเกิดความท้อ 3. เรียนจากสถาบันภาษา ซึ่งมีให้เลือกเรียนมากมาย 4. การมีแฟนหรือเพื่อนต่างชาติ 5. จ้างครูมาสอนตัวต่อตัว แต่มีราคาแพงพอ ๆ กับการไปเรียนเมืองนอก สิ่งที่เกิดขึ้นคือน่าเบื่อเพราะอยู่กับครู 2 คน ทำให้บรรยากาศการเรียนไม่น่าสนใจ

การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษสิ่งที่ง่ายที่สุด คือเรียนกับสถาบันภาษา แต่ก็มีหลักสูตรที่สอนแตกต่างกัน เช่น เรียนแบบคลาสรูม แต่ความใส่ใจของครูที่มีต่อเด็กนักเรียนที่เรียนรวมหลายคนมีไม่เท่ากัน และไม่ทั่วถึง ซึ่งการที่เราทุ่มเทและสูญเสียเวลาไปแล้วไม่ได้ผลมันตีเป็นมูลค่าความเสียหายไม่ได้ เพราะบางครั้งเราเรียนแล้วไม่สำเร็จ นอกจากจะเสียเงินแล้วยังเสียเวลาอีก ทำให้ฝังใจว่าเราไม่มีโอกาสที่จะพัฒนาได้ ในเมื่อลงทุนเงินและลงทุนเวลาแล้วขอให้เลือกในสถาบันที่ดี และสิ่งสำคัญที่สุดของการเรียนภาษาอังกฤษที่เราต้องทาร่วมด้วย คืออย่าอายและอย่ากลัวที่จะพูดผิด เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะช่วยสอนเรา

พีรมาน วรุณพันธุลักษณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงินและผู้อำนวยการฝ่ายบริหารลูกค้าองค์กร สถาบันสอนภาษาอังกฤษวอลล์สตรีท ประเทศไทย ให้ความรู้ว่า จากการประเมิน การวิจัย หรือแหล่งที่มาข้อมูลต่าง ๆ ของหลายหน่วยงานระบุว่าภาษาอังกฤษของคนไทยอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วงมาก ถ้าเราไม่เร่งการพัฒนาแบบเร่งด่วนจะทำให้เรายิ่งถอยหลัง ภาพที่จะผลักดันและขับเคลื่อนได้คงไม่ใช่แค่การพัฒนาในรายบุคคลเพียงอย่างเดียว จะต้องพัฒนาในระดับขององค์กรหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนด้วย โดยการเรียนการสอนภาษาอังกฤษรูปแบบใหม่จะเน้นในเรื่องของทักษะเหมือนกับการสอนภาษาไทย เคยสงสัยหรือไม่ว่าทาไมภาษาไทยของเราไม่ว่าจะอยู่ตรงไหนหรือไม่ได้ใช้นานแค่ไหนเรายังไม่ลืมก็เพราะภาษาไทยคือการเรียนรู้แบบวิธีธรรมชาติ เป็นภาษาแรกของชีวิตทุกคนที่เรียนมักเป็นภาษาที่ติดตัวเราไปตลอดถึงไม่ได้ใช้นานเราก็ยังใช้ได้ เพราะเริ่มจากทักษะการฟัง ซึ่งจะฟังจากพ่อ แม่ และคนรอบข้างพูดก่อน เมื่อเราฟังเสร็จแล้วจึงจะพูด เมื่อพูดเสร็จแล้วจึงจะอ่านและเขียน แต่พอภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 มีข้อจำกัด คือภาษาที่ 2 นี้เราจะเริ่มต้นมาจากการเข้าโรงเรียน เริ่มจากการอ่าน ท่อง และเขียน ทำให้ความเป็นธรรมชาติของการใช้หรือทักษะนี้ไม่ได้ถูกพัฒนา

แต่ถ้าถามว่าวิธีการเรียนภาษาอังกฤษแบบเดิมสามารถใช้ได้หรือไม่ ซึ่งก็สามารถใช้ได้แต่เป็นการใช้ได้ในยุคนั้น ปัจจุบันการสื่อสารในโลกนี้ภาษาอังกฤษถูกใช้ทุกทักษะและยิ่งจะเน้นหนักมากขึ้นเรื่อย ๆ ในเรื่องของการฟังและการพูด เพราะโลกเปิดกว้างขึ้นคนติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น สมัยก่อนอาจจะเป็นเรื่องของการเขียนจดหมาย การคุยกันแบบไม่เห็นหน้า แต่ทุกวันนี้เราเดินไปตรงไหนมักจะได้ยินภาษาอังกฤษเข้าหูมาตลอด ทำให้ต้องยอมรับว่าโลกติดต่อสื่อสารกันมากขึ้น จึงต้องเน้นในเรื่องของการพัฒนาทักษะตรงนี้ แต่การอ่านและการเขียนก็ยังเป็นทักษะที่จำเป็นที่เราพัฒนาเป็นกระบวนการเรียกว่า กระบวนการผสมผสาน (Blended method) ที่จะช่วยให้มีการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลสูงสุด

ในแง่ของการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือการก้าวเข้าสู่การเคลื่อนย้ายของแรงงาน เงินทุนอย่างเสรี แรงงานจะถูกเคลื่อนย้ายอย่างเสรีไปทั่วภูมิภาค รวมทั้งการติดต่อสื่อสารกับโลกนอกภูมิภาค ภาษาที่จะถูกใช้เป็นภาษากลางคือภาษาอังกฤษ เป็นเหตุผลที่ทาไมวันนี้จึงต้องกลับมาให้ความสำคัญและพัฒนาตรงนี้ควบคู่ไปด้วย โดยต้องพัฒนาเป็นกระบวนการ และการที่เราให้ความสำคัญเข้าไปในส่วนขององค์กร เพราะไม่ใช่เฉพาะเจาะจงว่าอาชีพใดต้องตื่นตัวแล้ว ถ้าประตูสู่อาเซียนเปิดแรงงานในประเทศฟิลิปปินส์ก็สามารถมาทำงานในประเทศไทยได้ หรือคนไทยก็สามารถไปทำงานได้ทุกประเทศในอาเซียน ฉะนั้นถามว่าเราจะไปอยู่ตรงนั้นได้อย่างไร คำตอบคือถ้าจะไปอยู่ตรงนั้นได้ต้องสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ

ดังนั้นในอีก 3 ปีข้างหน้าเมื่อถึงวันนั้นคงตัดสินใจอะไรไม่ทันแล้ว ณ วันนี้เรายังพอมีเวลาในการเตรียมความพร้อมให้ตัวเราเอง เมื่อถึงวันนั้นเราจะได้สื่อสารภาษาอังกฤษได้ทุกทักษะ โดยเฉพาะรายบุคคลต้องรู้ตัวว่าภาษาอังกฤษเรายืนอยู่ตรงจุดไหน และระดับไหนที่เราจะต้องไปให้ถึง นั่นคือระดับที่สื่อสารกันในเชิงธุรกิจไม่ใช่แค่ติดต่อสื่อสารพูดคุยกันว่าทานข้าวหรือยัง เพราะตรงนี้เราจะสามารถต่อสู้แข่งขันกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้ คนหลากหลายอาชีพจะหลั่งไหลเข้ามาประเทศไทย ซึ่งจะไม่ใช่แค่แข่งขันกับคนไทยด้วยกันแล้ว เราจึงต้องพัฒนาตัวเองไปในวิชาชีพ รวมทั้งองค์กรด้วยว่าประสบความสำเร็จได้อย่างไร

ในกลุ่มของนักเรียนอาจจะมองว่าได้รับผลกระทบน้อยที่สุด สำหรับนักเรียนที่เรียนสายศิลป์จะง่ายในการปรับตัว เพราะถูกปูพื้นมาแล้ว แต่ปัจจุบันเป้าหมายไม่ว่าจะเป็นสายวิทย์หรือสายศิลป์ไม่ได้แบ่งกันเหมือนสมัยก่อนแล้วว่าคนสายวิทย์การเรียนภาษาไม่จำเป็น แต่วันนี้สิ่งที่จะเกิดขึ้นในการเปิดประตูประเทศเข้าสู่ประชาคมอาเซียน คือสิ่งที่จะบอกได้ว่าไม่ว่าวิชาชีพไหน ไม่ว่าจะเรียนสายไหน ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ต้องใช้ เช่น อาชีพวิศวกร อีกหน่อยก็จะต้องมีวิศวกรจากต่างประเทศเข้ามาสมัครงานพร้อมกับเรา ซึ่งยอมรับว่าคนไทยมีความรู้ความสามารถในเชิงวิชาชีพไม่ได้ด้อย แต่สิ่งที่ทำให้เราด้อยโอกาสคือความสามารถทางภาษา เพราะทางเทคนิควิชาชีพวิชาการเรารู้หมด แต่เวลาที่ทำงานและต้องการจะไปแสวงหาโอกาสการทำงานที่มันเป็นลักษณะนานาชาติเราทาไม่ได้ เพราะทักษะการฟังที่ฟังไม่เข้าใจ และการพูดที่ต้องการจะสื่อสารไม่รู้เรื่อง ความรู้ที่เรามีอธิบายออกไปไม่ได้ก็กลายเป็นว่าเราไม่รู้ นี่คือสิ่งที่ต้องพยายามช่วยกันกระตุ้นให้คนไทยหันมาพัฒนาตัวเอง ไม่ต้องบอกว่าเรียนสายไหนภาษาอังกฤษไม่สำคัญ แต่ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษาพื้นฐานที่เราจะต้องมีประกอบไปกับวิชาชีพที่เราจะเรียนหรือที่เราจะทา

ส่วนกลุ่มคนทำงาน หน่วยงานหรือองค์กรต้องดำเนินการเข้ามาดูแลในจุดนี้ให้กับพนักงานของตัวเองเพื่อสร้างโอกาสที่ดี แต่อย่างไรก็ตามการเรียนอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ เราต้องรู้จักฝึกฝนตัวเองอยู่เสมอ ไม่ว่าด้วยวิถีทางใด ระหว่างเรียนหรือเรียนจบแล้วก็ต้องฝึก เช่น ฟังเพลง ดูภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ และเอาซับไตเติ้ลออก พยายามอ่านหนังสือพิมพ์ที่เป็นภาษาอังกฤษ เป็นสิ่งที่เราต้องทาจะได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และในอนาคตอีก 3 ปี ข้างหน้าประเทศไทยจะถูกเปิดให้มีโอกาสในการใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีมากที่เราไม่ต้องบินออกไปเรียนไกลถึงต่างประเทศเพื่อหาทางฝึกภาษาอังกฤษ แต่อยู่ในเมืองไทยก็ได้ฝึกภาษาอังกฤษทุกวัน

วันนี้ภาษาอังกฤษไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องเฉพาะคนที่มีโอกาส แต่ภาษาอังกฤษเป็นเรื่องของคนไทยทุกคนที่ต้องให้ความสำคัญเพื่อพัฒนาตัวเองในเรื่องทักษะให้พร้อมที่จะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน อันถือเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องสามารถสื่อสารกับคนรอบข้างได้อย่างมั่นใจและมีประสิทธิผล

ที่มา : เดลินิวส์