ประเทศไทยมีปัญหาขาดแคลนแรงงานมากที่สุดในประชาคมอาเซียน

ปัญหาการขาดคนในภาคการผลิตของไทย จะรุนแรงกว่าประเทศอื่นในอาเซียนถึง 3 เท่า ตัวเลขนี้เป็นผลสำรวจของธนาคารโลก ที่ทำการเก็บข้อมูลของธุรกิจในประเทศต่างๆ ทั่วโลกจำนวน 130,000 แห่ง จาก 135 ประเทศ ซึ่งรวมไปถึงประเทศในอาเซียน 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ลาว กัมพูชา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย หนึ่งในประเด็นที่ทำการสำรวจ คือ ร้อยละของธุรกิจที่ประสบกับการขาดแคลนแรงงานที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ จนกลายเป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจ

วิธีการทำอาชีพอิสระ

ผลสำรวจของธุรกิจที่อยู่ในภาคการผลิต พบว่า ธุรกิจในประเทศไทยประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมากเป็นอันดับ 1 คิดเป็น 38.8% ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด รองลงมาคือประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีปัญหานี้ 20.2% และประเทศที่ประสบปัญหาน้อยที่สุด คือ อินโดนีเซีย ที่มีเพียง 4.5% เท่านั้น หากนาข้อมูลของประเทศต่างๆ ในอาเซียนมาคานวณค่าเฉลี่ย โดยไม่นับประเทศไทยรวมอยู่ด้วย จะพบว่า โดยเฉลี่ยแล้วธุรกิจของประเทศในกลุ่มอาเซียนที่พบกับปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสม คิดเป็น 12.6% ของธุรกิจทั้งหมดที่มีอยู่ในประเทศ นั่นแสดงว่า ความรุนแรงของปัญหานี้ในประเทศไทย สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศอื่นในอาเซียนถึง 3 เท่า และถ้าเทียบกับอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของเราแล้ว ปัญหาของเรารุนแรงกว่าถึง 8 เท่าเลยทีเดียว

ปัจจุบันนี้ คนจบปริญญาตรีในบ้านเราไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม ถ้าไม่ตกงานหลังเรียนจบก็ต้องจาใจทำงานต่ำกว่าระดับ เพราะคุณสมบัติไม่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน ส่วนแรงงานที่ไร้ฝีมือ ตอนนี้เราเองก็พึ่งแรงงานจากประเทศอื่นมาพักใหญ่แล้ว อีกสามปีข้างหน้า เมื่อเรากลายเป็นส่วนหนึ่งของอาเซียน ตลาดแรงงานไทยจะถูกตีขนาบทั้งหัวและท้าย ด้านท้ายเราต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าว ส่วนหัวเราอาจจะต้องพึ่งพาคนเก่งจากประเทศอื่น มาช่วยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรม เพราะเราไม่สามารถผลิตคนกลุ่มนี้ออกมาได้เพียงพอกับความต้องการ แล้วถึงตอนนั้น คนที่จะต้องตกงานจะมีสักกี่คน

หากเรายอมรับว่า คน คือหัวใจสำคัญของธุรกิจ ปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสมนี้ ย่อมส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันและความอยู่รอดของธุรกิจในระยะยาว ธุรกิจที่น่าเป็นห่วง คือ ธุรกิจเอสเอ็มอี เพราะคงไม่สามารถจะไปแย่งคนเก่งกับธุรกิจขนาดใหญ่ได้ ข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ระบุว่า ในปี 2553 ประเทศไทยมีเอสเอ็มอีอยู่ประมาณ 2.9 ล้านราย มีมูลค่าการผลิตรวม 3.6 ล้านล้านบาท และมีการจ้างงานกว่า 13.5 ล้านคน การปิดตัวของธุรกิจเหล่านี้ ย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวม

โดยปกติเอสเอ็มอีก็เป็นไก่รองบ่อนอยู่แล้ว เมื่อเจอปัญหาขาดคนเก่งพ่วงเข้าไปด้วยอีก ก็ไม่รู้ว่าหลังจากประเทศในอาเซียนรวมตัวกันแล้ว จะมีเอสเอ็มอีล้มหายตายจากไปอีกสักกี่ราย ปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ เป็นปัญหาที่มีทั้งมิติเชิงปริมาณและคุณภาพ การจะแก้ปัญหาให้สำเร็จ เป็นเรื่องใหญ่เกินกำลังของธุรกิจแต่ละรายจะทำได้โดยลำพัง รัฐบาลจะต้องเข้ามามีบทบาทในการชี้นาและปฏิรูป

ด้านการชี้นา รัฐบาลควรส่งเสริมให้มีการเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตลาดแรงงานให้กับประชาชนได้รับรู้ เช่น รายได้ของแต่ละอาชีพ อัตราการว่างงานของผู้ที่เรียนจบในระดับการศึกษาต่างๆ อัตราการว่างงานของผู้ที่จบปริญญาตรีแบ่งตามสาขาวิชา และสถาบันการศึกษา ภาวะการขาดแคลนแรงงานในแต่ละสาขาอาชีพว่ามีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด ควบคู่ไปกับการให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มของตลาดแรงงานในอนาคต เพื่อให้ผู้ที่กำลังศึกษาอยู่และผู้ปกครองสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการตัดสินใจว่าจะศึกษาต่อในสาขาใด

ด้านการปฏิรูปในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบในทันที เพราะเราได้ลองกันมาหลายครั้งแล้ว แต่ก็ยังไปไม่ถึงไหน การปฏิรูปในที่นี้ หมายถึงการปฏิรูปทัศนคติของสังคมไทย เกี่ยวกับการศึกษา จากการส่งลูกให้เรียนสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ มาเป็นการส่งลูกเรียนในสาขาที่เหมาะสมกับทักษะและความชอบของผู้เรียน และเลือกเรียนในสาขาที่ตลาดแรงงานมีความต้องการ เพื่อสร้างอนาคตที่มั่นคงให้กับผู้เรียนในระยะยาว

ธุรกิจขับเคลื่อนด้วยคน ปัญหาเรื่องคนจึงเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความอยู่รอดของธุรกิจ เมื่อธุรกิจในประเทศง่อนแง่น ความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยรวมก็จะถดถอยลง ตามตรรกะนี้ ข้อมูลที่นำมาเสนอในตอนต้นเกี่ยวกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานของประเทศไทย สามารถตีความได้เพียงอย่างเดียว คือ ธุรกิจไทยกำลังอาการหนัก เศรษฐกิจไทยกำลังอาการน่าเป็นห่วง ถ้าไม่ทาอะไรสักอย่าง อีกสามปีข้างหน้า เราเจ็บตัวหนักแน่นอน

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ