ตัวอย่างการพัฒนาการของสิงคโปร์ ไทยควรเร่งพัฒนาเตรียมพร้อมสู่ AEC

การศึกษาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์ เป็นเพียงการช่วยให้เรามองเห็นจุดที่ไทยยังต้องพัฒนา เพื่อเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจและรองรับการเป็นกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community: AEC) โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพแรงงานและเทคโนโลยีศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงมองว่า ไทยต้องสร้างแนวทางในการใช้เทคโนโลยี เพื่อการผลติในรูปแบบของตัวเอง โดยอาจมีการเลือกกาหนดอุตสาหกรรมเปูาหมายที่เหมาะสมกับสถานการณ์การผลิตโดยรวมของประเทศ เช่น อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าเกษตร สุขภาพ การท่องเที่ยว เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถนาแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ มาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้แกสินค้าและบริการควบคู่ไปกับเทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์ในเรื่องข้อจากัดทางการเงินของธุรกิจ SMES ที่มีส่วนสาคัญต่อภาคธุรกิจของไทย

นอกจากนี้ ไทยต้องพัฒนาคุณภาพของกาลังแรงงานควบคู่กันไปด้วย หากไทยนกระดับขีดความสามารถในการผลิตได้ จะส่งผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสามารถแข่งขันได้ทัดเทียมต่างชาติ ไม่เพียงแต่ใน AEC แต่รวมถึงประเทศอื่นๆ จากทั่วโลกด้วย การรวมกลุ่ม AEC ที่กาลังจะเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบในปี 2558 นี้นั้น มีจุดประสงค์หลักประการหนึ่ง ที่ต้องการสร้างให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง (Highly Competitive Economic Region) และหากมองหาประเทศที่มีศักยภาพาการแข่งขันอย่างมากในอาเซียน คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะพูดถึงสิงคโปร์ ทั้งที่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่ทรัพยากรทางธรรมชาติและแรงงาน แต่สิงคโปร์สามารถปรับรูปแบบเศรษฐกิจจนกลายมาเป็นศูนย์กลางการค้า การเงินและการขนส่งที่สาคัญของภูมิภาคในปัจจุบันได้

วิธีการทำอาชีพอิสระ

สิงคโปร์ติดอันดับ 3 ของโลก

จากการจัดอันดับของ IMD สิงคโปร์ถือเป็นประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันอันดับที่ 3 ของโลก (FIGURE1) และสูงที่สุดในอาเซียนด้วยกัน โดยมีรายได้หลักมาจากภาคการบริการกว่า 65% มีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศรวมกว่า 974,396.3 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ขณะที่อุตสาหกรรมหลักที่สำคัญล้วนเป็นอุตสาหกรรมที่พึ่งพาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ และ วิศวกรรม เป็นต้น

แนวทางการพัฒนาศักยภาพของสิงคโปร์พบว่ามีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

1.การมุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อเสริมศักยภาพทางเศรษฐกิจ

แม้สิงคโปร์จะเสียเปรียบเรื่องปัจจัยการผลิตที่มีราคาสูงกว่าประเทศอื่นๆ ในแถบอาเซียน แต่สิงคโปร์พยายามพัฒนาองค์ความรู้ ผ่านการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ให้มีระดับสูงขึ้น และนำมาต่อยอดให้เกิดนวัตกรรมเชิงธุรกิจ ซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบและส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันของสิงคโปร์ อีกทั้งยังช่วยลดการพึ่งพาเทคโนโลยีกับต่างชาติ เช่น การพัฒนาอุตสาหกรรม Biomedical ขึ้นมาเป็นอุตสาหกรรมหลักชนิดใหม่ ควบคู่ไปกับอุตสาหกรรมหลักเดิมที่นับวันจะมีสภาวะการแข่งขันจากประเทศในเอเชียที่รุนแรงขึ้น

2.การไม่หยุดที่จะยกระดับสภาพความเป็นอยู่ของคนในประเทศ

จากการเปลี่ยนแปลงของลักษณะตลาดและลักษณะประชากรในสิงคโปร เช่น การขยายตัวของสังคมเมือง การเปลี่ยนแปลงช่วงอายุของประชากร และความหลากหลายของประชากรที่มากขึ้น ส่งผลให้ภาคเอกชนยังคงพยายามที่จะหาโอกาศในการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และยังช่วยยกระดับสภาพความเป็นอยู่ของคนในประเทศให้ดีขึ้น

3.การลงทุนเพื่อ R&D ของสิงคโปร์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

เพราะนโยบายหลักของสิงคโปร์ ที่ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในด้าน R&D จากภาคธุรกิจ อีกทั้งการดึงดูดนักลงทุนด้วย สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยี เช่น ที่ตั้งของประเทศ โครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น ทั้งนี้ ตัวเลขการใช้จ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาโดยรวม (Gross Expenditure on Research & Development: GERD) ของสิงคโปร์ปี 2553 มีมูลค่า 6.5 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 7.4% (YOY) โดยกว่า 60% ของการใช้จ่ายดังกล่าวมาจากภาคเอกชน ในขณะที่บุคลากรด้านนี้เพิ่มขึ้นกว่า 4.3% (YOY) สิงคโปร์ให้สิทธิพิเศษภาคธุรกิจ

4.รัฐบาลสิงคโปร์มีการให้สิทธิพิเศษกับภาคธุรกิจที่มีการลงทุน เพื่อการวิจัยและพัฒนาในสิงคโปร์

ซึ่งถือเป็นสิ่งจูงใจให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การให้สิทธิพิเศษทางภาษี จากนโยบายการส่งเสริมนี้ทาให้จานวนกิจกรรมเพื่อการพัฒนาสินค้าและบริการในสิงคโปร์เกิดขึ้นในหลายสาขาธุรกิจ โดยเฉพาะในสาขาหลักๆ เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์เคมี เป็นต้น อีกทั้งมีการจัดตั้งโครงการร่วมทุนกับภาคเอกชนจากประเทศอื่นๆ ในเอเชีย เช่น โครงการ Jurong Aromatics Corporation เป็นต้น

5.การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการพัฒนาองค์ความรู้ในระยะยาว

ในระยะต่อจากนี้ สิงคโปร์ตั้งเป้าที่จะทำให้ประเทศกลายเป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเชิงธุรกิจ โดยภายในปี 2558 จะมีการเพิ่มสัดส่วนตัวเลขค่าใช้จ่ายเพื่อ R&D ให้ได้ถึงร้อยละ 3.5 นอกจากนี้ ภายใต้แนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจของ Economic Development Board ที่จะให้สิงคโปร์เป็น Home for Innovation และให้ความสาคัญกับความร่วมมือในการพัฒนาองค์ความรู้ จากหลายฝุาย (CO-Creationg Solutions) ทั้งภาครัฐและเอกชน

ประเทศไทยยังจะต้องปรับปรุงในเรื่องของพัฒนาองค์ความรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม โดยการวิจัยและพัฒนาของไทยยังมีบางประเด็น ที่ส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพของไทย เช่น ผู้ประกอบการไทยยังลงทุนด้านเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตน้อย โดยในปี 2552 สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อ R&D ของภาคเอกชน เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่าย R&D รวมมีเพียง 39% อีกทั้งยังต้องพึ่งพาการนาเข้าเทคโนโลยีจากต่างชาติ ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนสูง จึงถือเป็นอุปสรรคต่อการใช้เทคโนโลยี เพื่อของผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะกลุ่ม SMES

ไทยไม่สามารถแข่งขัน โดยอาศัยความได้เปรียบจากปัจจัยแรงงานที่มีราคาถูกเพียงเดียวได้อีก เพราะระดับราคาปัจจัยการผลิตของไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เช่น การเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่าอีกทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผลิตภาพแรงงานนอกภาคการเกษตรเฉลี่ยต่อคนของไทยในไตรมาสสุดท้ายปี 2554 อยู่ที่ 111.2 เทียบกับปีฐาน 2543 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าในช่วงกว่า 10 ปี คุณภาพแรงงานของไทยยังมีการพัฒนาที่ช้าและอยู่ในระดับข้างต่า

การรวมกลุ่ม AEC ถือเป็นเหตุการณ์สาคัญที่ผู้ประกอบการไทย จะได้เผชิญโอกาสใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการร่วมกลุ่มทางเศรษฐกิจดังกล่าวอัน ได้แก่ การรวมเป็นตลาดเดียวในอาเซียนจะทาให้ลักษณะผู้บริโภคมีความหลากหลายขึ้นและมีปริมาณมากขึ้น จึงเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยสามารถที่จะพัฒนาสินค้าเดิมหรือสร้างสินค้าใหม่ๆ โดยใช้การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นเครื่องมือ การเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกได้อย่างเสรี ทาให้การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและบุคลากร ที่มีทักษะกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีความพร้อมเป็นไปได้สะดวกขึ้น แหล่งเงินทุนเพื่อพัฒนางานวิจัยและบุคลากรที่เปิดกว้างมากขึ้น และเอื้อต่อการจัดตั้งเครือข่ายข้อมูลร่วมกันในระดับภูมิภาค การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานร่วมกันในระดับภูมิภาคที่อาจเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น การพัฒนากฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การยกระดับการศึกษา เป็นต้น สาหรับประเทศไทยและสิงคโปร์อาจใช้โอกาสจากการฟื้นฟูกรอบความร่วมมือ Singapore-Thailand Enhanced Economic Relations (STEER) ที่บรรจุแนวคิดของการพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกันระหว่าง 2 ประเทศไว้ด้วย

หากไทยต้องการที่จะยกระดับประสิทธิภาพในการผลิต ก็จาเป็นจะต้องพัฒนาเทคโนโลยีและคุณภาพของบุคลากร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดขนาดใหญ่ เช่น AEC และดึงดูดการลงทุนจากทั่วโลกในระยะยาว โดยอาศัยแนวคิดหลักๆ ดังนี้ การส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีภายในประเทศ ซึ่งจะทาให้ได้ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับประเภทอุตสาหกรรมหลักและระดับเงินทุนของไทยควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม เช่น กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง การศึกษา เป็นต้น อีกทั้งควรกระตุ้นให้เอกชนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพิ่มบทบาทของเศรษฐกิจในเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) โดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน รัฐอาจช่วยสนันสนุนให้เกิดกระบวนการเพื่อการสร้างสรรค์และพัฒนาสินค้าของภาคธุรกิจ ซึ่งไม่ต้องลงทุนสูง แต่เน้นการพัฒนาสินค้าและบริการให้แตกต่างและมีความโดดเด่น เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว การพัฒนาสินค้า OTOP การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์อาหารและสินค้าเกษตร เป็นต้น

การพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะถือเป็นปัจจัยสาคัญ การพัฒนาแรงงานให้เป็นแรงงานที่มีทักษะ (Skilled Labour) จะช่วยให้การถ่ายถอดเทคโนโลยีในภาคการผลิตและบริการเป็นไปได้ง่ายขึ้น และได้รับการยอมรับจากตลาดแรงงานระดับภูมิภาค ซึ่งควรจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพของแรงงานทั้งความเชี่ยวชาญเฉพาะทางทักษะทางภาษา และการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอยู่เสมอ รวมทั้งต้องเร่งผลิตและพัฒนานักวิจัยให้มีคุณภาพมากขึ้น

ที่มา : ศูนวิจัยกสิกรไทย