จุดเด่นและข้อได้เปรียบของประเทศไทย ที่ดีกว่าประเทศอื่นในอาเซียน

แม้ว่าประเทศไทยจะมีปัญหาบางด้านแต่ก็เป็นประเทศหนึ่งที่ มีความได้เปรียบและมีจุดแข็งหลายด้านเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน พิจารณาได้จากขีดความสามารถในการแข่งขันโดยรวมที่จัดทําโดยสถาบันนานาชาติเพื่อพัฒนาด้านการจัดการ(International Institute for Management Development : IMD) ในปี 2554 พบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 10 เมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และเป็นอันดับที่ 3 ในภูมิภาคอาเซียน โดยเป็นรองเฉพาะ ประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย ทั้งนี้ สามารถแบ่งเป็นหัวข้อได้ดังต่อไปนี้

1. ด้านตลาดแรงงาน

วิธีการทำอาชีพอิสระ

พบว่าประเทศไทยมีอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ํา โดยในเดือน ธ.ค. 2554 ที่ผ่านมา อัตราการว่างงานของประเทศไทยอยู่ในระดับต่ําเพียงร้อยละ 0.4 ของประชากรที่อยู่ในวัยแรงงาน ขณะที่ประสิทธิภาพของแรงงาน (Labor Productivity) ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ในอาเซียน และมีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆตามลําดับ ขณะเดียวกัน รายได้ประชากรต่อหัวของไทยที่ได้รับโดยเฉลี่ยก็อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม แต่ต่ํากว่าเฉพาะสิงคโปร์ บรูไน และมาเลเซีย

2.ด้านการท่องเที่ยว

พบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับไปทั่วโลก โดยกระทรวงการต่างประเทศแจ้งว่า ประเทศไทยได้รับรางวัลด้านการท่องเที่ยว Grand Travel Award Stockholm ประจําปี ค.ศ.2011 สาขาประเทศท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสูงสุด (Best Tourist Country)และเป็นปีที่ 9 ที่ ไทยได้รับรางวัลดังกล่าวติดต่อกัน

3.ขนาดของตลาด

ภูมิภาคอาเซียนเป็นภูมิภาคที่ มีตลาดขนาดใหญ่ ยังมีศักยภาพที่ จะขยายตัวได้อีกมากในอนาคต โดยเฉพาะประเทศไทยมีจํานวนประชากรสูงถึง 66.7 ล้านคน มากเป็นอันดับ 4 รองจากประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ที่ มีประชากร 245.6 ล้านคน 101.8 ล้านคน และ 90.5 ล้านคน ตามลําดับ ขณะที่ เมื่อพิจารณาโครงสร้างอายุประชากรของประเทศสมาชิกอาเซียนแล้ว พบว่า มีความคล้ายคลึงกันโดยประชากรส่วนใหญ่ในแต่ละประเทศอยู่ในวัยหนุ่มสาวและวัยทํางาน (อายุระหว่าง 15-64 ปี) ประมาณร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมดใน ซึ่งไทยได้ผูกพันเปิดตลาดทั้งหมด 143 รายการ ตามข้อตกลงการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ซึ่งครอบคลุมสาขาบริการหลัก อาทิ บริการวิชาชีพ (ได้แก่ วิชาชีพวิศวกรรม สถาปัตยกรรม และบัญชี เป็นต้น) คอมพิวเตอร์และการสื่อสารการ ก่อสร้าง การจัดจําหน่าย (อาทิ บริการค้าส่งเครื่องกีฬาและบริการแฟรนไชส์ เป็นต้น) การศึกษาในทุกระดับ บริการด้านสุขภาพ บริการสิ่งแวดล้อม และบริการท่องเที่ยว เป็นต้น ตลอดจนการวางยุทธศาสตร์ของประเทศโดยใช้จุดแข็งที่กล่าวมาแล้วให้เป็น ประโยชน์มากยิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่และเพื่อให้ได้ประโยชน์จากการเข้าสู่ AEC มากที่สุด

4.ทําเลที่ตั้ง

ประเทศไทยมีความได้เปรียบในด้านยุทธศาสตร์การคมนาคมอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ซึ่งได้เปรียบการคมนาคมทั้งทางบกและทางอากาศ จากแหล่งทําเลที่ตั้งในภูมิภาคอาเซียน รวมไปถึงแหล่งทําเลที่ตั้งในโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขง (Greater Mekong Sub-region : GMS) ซึ่งทําให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการคมนาคมในภูมิภาคอาเซียนได้ไม่ยากนัก นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางทางการบินและคมนาคมทางบกที่จะเชื่อมประเทศคาบสมุทรอินโดจีนและเชื่อมโยงเอเชียเหนือโดยเฉพาะจีนกับเอเชียตะวันตกโดยเฉพาะอินเดียเข้าด้วยกันหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว ประเทศไทยต้องให้ความสนใจกับการเพิ่มผลิตภาพทั้งด้านการศึกษาและทักษะที่สูงขึ้น เพราะในขณะนี้ประสิทธิภาพการผลิตของไทยเพิ่มขึ้นช้า หากเกิดการขาดแคลนแรงงานจะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเติบโตในอัตราต่ํา

แม้ว่าประเทศไทยมีจุดเด่นและข้อได้เปรียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคอาเซียน แต่ประเทศไทยก็ยังต้องเตรียมพร้อมอีกหลายด้าน เช่น ในด้านภาษีซึ่งปัจจุบันอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของไทยอยู่ที่ 30% ซึ่งถือว่าสูงกว่าประเทศอื่นๆในอาเซียน แต่ก็จะมีการปรับลดลงเหลือ 23% ในปี 2555 และเหลือ 20% ในปี 2556 ตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งจะทําให้ระบบภาษีของไทยเอื้ออํานวยต่อการแข่งขัน นอกจากนี้ ยังต้องพัฒนาสินค้าที่ มีศักยภาพในการแข่งขันสูงอย่างต่อเนื่องอาทิ รถยนต์และชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ เพื่อให้เติบโตต่อไปได้ตามการขยายตัวของสินค้าในตลาดโลก

ที่มา :โพสต์ทูเดย์