โอกาสและอุปสรรคของอุตสาหกรรมอาหารไทยในตลาด AEC

ประเทศไทยมีศักยภาพการแข่งขันสูงซึ่งสามารถพิจารณาได้จากปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้

ปัจจัยด้านการผลิต (Factor Conditions)

ในแง่ของวัตถุดิบ ไทยมีวัตถุดิบเป็นจานวนมากทั้งในเชิงปริมาณ คุณภาพ และความหลากหลาย ส่วนประเทศในอาเซียนที่มีศักยภาพด้านวัตถุใกล้เคียงกับไทย ได้แก่ เวียดนาม และอินโดนีเซีย ส่วนประเทศอื่นๆ เช่น พม่า แม้จะมีวัตถุดิบจานวนมากแต่คุณภาพยังต้องอาศัยเวลาในการยกระดับไปสู่มาตรฐาน ในแง่ของต้นทุนแรงงาน ไทยได้เปรียบสิงคโปร์ และมาเลเซีย ในแง่ค่าจ้างที่ถูกกว่า แต่ค่าจ้างของไทยก็สูงกว่ากลุ่มประเทศ CLMV มากซึ่งไทยถูกชดเชยด้วยทักษะฝีมือแรงงานรวมทั้งความชานาญที่สะสมมานาน ในแง่เทคดนดลยีการผลิตรวมทั้งปัจจัยทุน ไทยก็ได้เปรียบกลุ่มประเทศCLMV แต่ก็เสียเปรียบสิงคโปร์ และมาเลเซียอยู่มาก ส่วนระบบโครงสร้างพื้นฐานของไทยได้เปรียบกลุ่มประเทศ CLMV แต่ก็เสียเปรียบสิงคโปร์และมาเลเซียในระดับหนึ่ง

– ปัจจัยด้านการตลาด (Demand Conditions)

วิธีการทำอาชีพอิสระ

ขนาดตลาดของไทยถือว่าใหญ่แต่กำลังซื้ออยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกันกับประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ หากเทียบกับสิงคโปร์ บรูไนและมาเลเซียถือว่าเป็นกลุ่มประเทศที่มีกาลังซื้อสูงกว่า แต่ตลาดเหล่านี้ก็มีข้อจากัดที่มีขนาดเล็ก และอัตรการขยายตัวของบริโภคไม่สูงนัก สินค้าที่จะเติบโตในตลาดเหล่านี้ต้องเป็นสินค้าใหม่ มีความคิดสร้างสรรค์ ส่วนการตลาด CLMV ส่วนใหญ่มีกาลังซื้อต่ามาก ตลาดขยายตัวอย่างช้าๆ ยกเว้นเวียดนามที่มีตลาดขนาดใหญ่เทียบเท่ากับไทย ขณะที่กาลังซื้อของตลาดก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการขยายตัวของเศรษฐกิจเวียดนาม ส่วนการขยายตลาด ไปสู่ต่างประเทศนั้น ไทยทาได้ดีไม่แพ้ประเทศใดในอาเซียน โดยเฉพาะคุณภาพมาตรฐานสินค้าที่ทาให้อาหารไทยยังเป็นที่ต้องการของตลาดโลก

– อุตสาหกรรมสนับสนุน (Related &Supporting Industries)

ไทยมีอุตสาหกรรมสนับสนุนที่ดีกว่ากลุ่มประเทศ CLM โดยอุตสาหกรรมอาหารของไทยค่อนข้างมีความหลากหลายแต่จุดอ่อนอยู่ที่การรวมตัวของเครือข่ายการผลิตยังไม่เข้มแข็งนัก รวมทั้งผู้ประกอบการรายย่อยที่มีศักยภาพห่างจากผู้ประกอบการรายใหญ่ค่อนข้างมาก ขณะที่กลุ่มประเทศ CLM มีอุตสาหกรรมสนับสนุนในประเทศค่อนข้างน้อย ขาดความต่อเนื่องของสายโซ่อุปทาน สภาพแวดล้อมในการลงทุนในอุตสากรรมอาหารจึงไม่เอื้ออานวยนัก เพราะอาจต้องนาเข้าปัจจัยการผลิตอื่นๆ จากต่างประเทศเช่น วัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ ขณะเดียวกันการเข้าไปลงทุนขยายโรงงานแปรรูปเพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐานสากลโดยใช้ปัจจัยการผลิตในตลาดไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะขึ้นอยู่กับศักยภาพในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนประเทศอื่นๆ มีอุตสาหกรรมสนับสนุนไม่แตกต่างกันมาก

– กลยุทธ์ทางธุรกิจ โครงสร้าง และการแข่งขัน (Firm Strategy, Structure & Rivalry)

ประเทศในอาเซียนแทบทุกประเทศยังมีปัญหาเรื่องการควบคุมตลาดโดยรัฐ กฎระเบียนต่างๆ ยังไม่เสรีอย่างแท้จริง เช่น การควบคุมราคาสินค้า การกาหนดมาตรฐานต่างๆ ที่ส่งผลทาให้เกิดการกีด กันทางการค้า การลงทุน แต่แนวโน้มสถานการณ์ต่างๆเริ่มดีขึ้นจากการที่หลายประเทศในอาเซียนต้องปรับตัวเข้ากับพันธกรณีของ WTO การเข้าสู่ AEC รวมทั้ง FTA กับประเทศคู่ค้าต่างๆ ส่วนความเชื่อมั่นด้านคุณภาพของสินค้าอาหารไทยในสายตาผู้บริโภคอยู่ในเกณฑ์ดีเมื่อเทียบกับประเทศ CLMV เพราะสินค้าส่วนหนึ่งผลิตเพื่อการส่งออก ผู้ผลิตจาเป็นต้องยกระดับการผลิตเข้าสู่มาตรฐานระหว่างประเทศ ประกอบกับอุตสาหกรรมส่วนหนึ่งของไทยเป็นการลงทุนจากต่างประเทศจึงได้รับการถ่ายทอด เทคโนโลยีการผลิตให้มีมาตรฐาน ส่วนศักยภาพในการการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์รวมทั้งการสร้างตราสินค้าที่เป็นของตัวเอง (Brand)เพื่อโอกาสทางการตลาดของไทยทาได้ดีขึ้นแต่ไม่มาก สินค้าที่ผลิตส่วนใหญ่ยังผลิตตามคาสั่งซื้อ(OEM)

– บทบาทของภาครัฐ (The Role of Government)

มาเลเซีย และสิงคโปร์เป็นสองประเทศในอาเซียนที่เห็นบทบาทของภาครัฐในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้อต่อการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะการเมืองที่มั่นคงทาให้นโยบายเศรษฐกิจมีความต่อเนื่องนอกจากการส่งเสริมศักยภาพให้กับอุตสาหกรรมในประเทศแล้ว ภาครัฐของทั้งสองประเทศยังโดดเด่นมากในการสนับสนุนให้ภาครัฐของประเทศอื่นๆในอาเซียนมีเพียงเวียดนามที่โดดเด่นขึ้นมา โดยเฉพาะนโยบายในการส่งเสริมการลงทุนในประเทศรวมทั้งการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ให้เอื้อต่อการแข่งขัน

จากปัจจัยต่างๆ พอสรุปได้ว่า อุตสาหกรรมไทยมีศักยภาพในอันดับต้นๆ ของอาเซียนเนื่องจากความเข้มแข็งในด้านปัจจัยการผลิต อาทิ วัตถุดิบมีคุณภาพและมีความหลากหลาย ทักษะฝีมือแรงงานเหมาะสมกับต้นทุนค้าจ้าง มีตลาดภายในประเทศที่มีศักยภาพรองรับความต้องการในอนาคตขณะที่ในแง่ของตลาดส่งออกพบว่าอาหารไทยยังเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพราะสินค้ามีคุณภาพมาตรฐาน หากสามารถพัฒนาเครือข่ายการผลิตให้มีศักยภาพทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาครวมทั้งสนับสนุนการดาเนินงานให้เกิดการเกื้อกูลกันมีการพัฒนาตราสินค้าที่เป็นของตัวเอง (Brand) รวมทั้งเพิ่มบทบาทของหน่วยงานภาครัฐในการช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม จะช่วยสร้างโอกาสและความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมอาหารของไทยในระดับอาเซียนรวมถึงระดับโลกได้ไม่ยาก

ปัญหาหลักๆ ในการเข้าสู่ตลาดอาเซียนของผู้ประกอบการไทย เนื่องจากประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่เป็นแหล่งที่ผลิตอาหารได้มากเกินความต้องการบริโภคและมีการส่งออกไปจาหน่ายสร้างรายได้กลับเข้าประเทศเป็นจานวนมากในแต่ละปี สินค้าเกษตรและอาหารจึงเป็นแหล่งรายได้หลักของประชากรในภูมิภาคนี้ ประกอบกับภูมิประเทศที่คล้ายคลึงกัน ผลผลิตทางการเกษตรและอาหารจึงมีสภาพการแข่งขันกันไปโดยปริยาย ปัจจัยดังกล่าวเป็นส่วนสาคัญที่ทาให้การเปิดตลาดอาหารอาเซียนทาได้ไม่ง่ายนัก เพราะทุกประเทศก็ต้องการปกป้องภาคเกษตรและอาหารซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเชิงยุทธศาสตร์ของตน

ปัญหาหลักๆ ในการเข้าสู่ตลาดอาเซียนของผู้ประกอบการไทย พอสรุปได้ดังต่อไปนี้

– ตลาดอาเซียนโดยรวมมีกาลังซื้อต่า เมื่อเทียบกับตลาดหลักในประเทศพัฒนาอย่างสหรัฐฯญี่ปุ่น หรือยุโรป ส่งผลทาให้สินค้าอาหารส่งออกของไทยไม่คุ้มค่าในการทาตลาด โดยเฉพาะสินค้ามูลค่าเพิ่ม
– ผู้ประกอบการไทยยังมีความรู้ความเข้าใจในตลาดอาเซียนค่อนข้างน้อย ทำให้ขาดแรงจูงใจในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อาหารที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดอย่างแท้จริง
– ระบบโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะด้านการคมนาคมขนส่งที่ไม่สะดวก การพัฒนาระบบขนส่งให้เกิดความเชื่อมโยงในภูมิภาคยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ประสิทธิภาพยังไม่ดีพอ ทาให้เป็นอุปสรรคต่อการขนส่ง และกระจายสินค้า
– แม้ปัญหาด้านภาษีศุลกากรจะลดบทบาทลงไปมาก แต่หลายประเทศในอาเซียนยังมีอุปสรรคด้านการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) ที่มีอยู่เป็นจานวนมาก ซึ่งแต่ละประเทศยังหาจุดร่วมในการลดอุปสรรคที่เป็น NTBs ไม่เห็นเป็นรูปธรรม

ที่มา : หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย